สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงคนดีตามความเชื่อโบราณของคนไทยกับพระพุทธศาสนา “ผู้ที่ตกน้ำไม่ไหล” คือน้ำไม่พัดพาไปถึงได้รับอันตราย ก็ไม่ได้หมายความว่าน้ำหยุดไหล แต่หมายความว่า มีผู้ช่วยนำขึ้นให้พ้นน้ำได้ “ผู้ที่ตกไฟไม่ไหม้” ก็ไม่ได้หมายความว่า ไฟไหม้เนื้อหนังร่างกายจริง ๆ แต่หมายความว่า มีผู้ช่วยให้พ้นจากไฟหรือช่วยดับไฟให้ ตนจึงพ้นภัยอันเกิดจากไฟนั้น
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนดีถ้าตกอยู่ในที่อันตราย หรือมีเหตุการณ์คับขันอย่างไร ก็ไม่เป็นอันตรายหรือมีสิ่งใดทำร้ายได้
มักจะใช้พูดเปรียบเทียบคนจิตใจดี จะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองแม้จะมีภายเข้ามา หรืออยู่ใน สถานการณ์ที่แย่ อันตราย แต่ก็คจะแคล้วคลาดปลอดภัย
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
- ติ้วเป็นคนดี ทำดีมาตลอด เขาเป็นตำรวจชายแดนที่คอยช่วยเหลือประชาชนพ่อและแม่คอยอวยพรให้ติ้วและบอกกับติ้วเสมอว่าคนดีอย่างลูกคุณพระจะคุ้มครองตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้อยู่แล้ว
- พระธํุดงค์จะไม่กล้วอันตรายในการเดินธุดงค์คนเดียว และก็มีักจะไม่เป็นอันตรายใดๆ ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ อาจจะมีบ้างใน บางครั้งที่ต้องผจญกับอันตราย หรือยู่ในสถานการณ์อันตราย แต่ก็สามารถผ่่านพ้นไปได้ด้วยดี
- ตำรวจคนนั้นเจอสัตว์ร้ายตอนเข้าไปในป่าเพื่อตามหาคนที่พลัดหลงจากกลุ่ม แต่ก็ไม่เป็นอะไรเลยคนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้จริงๆ
- แม้จะมั่นใจว่า ตัวเองเป็นคนดี ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ก็ไม่ควรพาตัวเองไปเสี่ยงกับอันตราย เพราะแม้จะผ่านไปได้ รักษาชีวิตให้ อยู่รอดปลอดภัยได้ ก็อาจจะต้องผ่านเรื่องเลวร้าย เป็นความทรงจำไม่ดีติดตัวไปจนตาย คนเราทุกวันนี้ไว้ใจยาก รู้หน้าไม่รู้ใจ จึงไม่ควร เสี่ยง โดยเฉพาะเรื่องการคบคนไม่ดี
- “ผู้ที่มีความดีเพียงพอจะเป็นที่พึ่งของตนเองได้” ย่อมสามารถมีผู้อื่นเป็นที่พึ่งได้ “ผู้ไม่มีผู้อื่นเป็นที่พึ่ง” คือผู้ไม่มีความดีเพียงพอที่ผู้อื่นจะแลเห็นความดีนั้น ไม่แลเห็นความสมควรที่จะพึงได้รับความช่วยเหลือ เมื่อผู้ไม่มีความดีเพียงพอนั้นได้รับความเดือดร้อนด้วยเรื่องใด ก็ย่อมไม่มีผู้ยินดีช่วยเหลือ คนดีย่อมตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้เสมอ