สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ศ. ศิษย์นอกครู
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยศิษย์นอกครู
ที่มาของสำนวน มาจากลูกศิษย์ที่ประพฤติปฏิบัตินอกคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์แบบหลบๆ เลี่ยงๆ แต่ยังไม่ถึงกับจะคิดล้างครู คือคิดและทำออกนอกกรอบไปบ้าง ผิดแปลกตามธรรมเนียมไปบ้าง
บางครั้งการคิดนอกกรอบอาจจะเป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้ ถ้ามัวแต่ปฏิบัติตามกรอบเดิมๆ ก็จะได้แต่ของเดิมๆ ไม่มีของใหม่ๆ เกิดขึ้น เป็นสำนวนติเตียนเชิงสร้างสรรค์
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมาฃ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตศิษย์นอกครู
- ใครจะว่าผมเป็นศิษย์นอกครู ก็แล้วแต่ ผมกำหนดชีวิตเส้นทางของตัวเอง การยึดติดแต่สิ่งเดิมๆ ในโลกที่หมุนเร็วแบบนี้ ก็เหมือนระเบิดเวลา
- สมชาย เขายืนยันว่าเขาไม่ใช่ศิษย์นอกครู เขาเพียงแต่นำคำสอนของครูมาประยุกต์ให้เข้ากับแนวทางความคิดใหม่ๆ ของเขาเท่านั้นเอง และมันก็เกิดสิ่งดีขึ้นจริงๆ
- วิชิตเป็นนักเรียนที่ทำตัวศิษย์นอกครู อาจารย์ก็หมดปัญญาที่จะสั่งสอนได้แล้ว แต่ถ้าเขาชอบวิชาอะไร เขาจะตั้งใจอย่างสุดความสามารถ แม้อาจจะนอกกรอบบ้าง แต่ก็ไม่เสียหายอะไร
- คิดนอกกรอบศิษย์นอกครู อะไรที่แปลกใหม่ในโลกยุคใหม่นี้ ไม่ต้องตามให้ทัน แต่ต้องปรับตัวให้ได้
- อยากจะประสบความสำเร็จในยุคนี้ต้องคิดแบบศิษย์นอกครูบ้าง เราไม่ได้หลบหลู่ครู แต่แค่คิดให้ทันตามโลก คิดและกระทำให้เหมือนความประสบความสำเร็จ ว่าแนวคิดของพวกเขาเป็นอย่างไร