สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กาฝาก
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยกาฝาก
ที่มาของสำนวน ธรรมชาติของต้นกาฝาก เป็นต้นไม้ที่เกาะเบียดเบียนอาศัยอาหารจากต้นใหญ่ เลี้ยงตัวมันเอง จึงเปรียบเปรยถึงแฝงกินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การแฝงตัวอาศัยอยู่กับผู้อื่นโดยที่ไม่ช่วยเหลือ หรือทำประโยชน์อะไรให้ คอยแต่จะเกาะเอาประโยชน์จากผู้อื่น
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกาฝาก
- ในประเทศที่มีการแบ่งชนชั้น และมีความเหลี่ยมล้ำทางสังคมมักจะมองว่าคนจน เป็นกาฝากของสังคม เพราะไม่สามารถทำประโยชน์ให้ประเทศได้ อยู่ไปวันๆ เป็นตัวปัญหาของสังคม
- สินบนนำจับ จับของเถื่อน จับยาเสพติด เคยเห็นไหม ตำรวจ-ป.ป.ส.-ปปง.-ศุลกากร เข้าชื่อยาวเฟื้อย เพื่อแบ่งรางวัลและได้เลื่อนขั้น จับจริงไม่ว่ากัน แต่ผู้กำกับโจ้รวยหลายร้อยล้านเพราะอ้างว่านำยึดรถหรู? รัฐราชการไทยไม่ได้มีกาฝากแค่กิ่งสองกิ่งหรอก เผลอๆ เป็นพุ่มใหญ่กว่าต้นไม้ด้วยซ้ำ
- นายนี่มันกาฝากชัดๆ มาขอเข้าร่วมงานกลุ่มด้วยแต่ไม่เคยให้ความร่วมมือ ช่วยงานอะไรเลย แล้วยังจะกล้ามาเรียกร้องหาความสงสารอยู่อีก
- ใครที่ไม่ยืนหยัดต่ออุดมการณ์นี้ วันหนึ่งเมื่อกระแสกลับเข้ามาที่พวกเรา และประสบความสำเร็จ ก็อย่าวิ่งกลับเข้ามาที่อีก อย่าทำตัวเป็นพวกกาฝาก
- กาฝากพญามหาปราบ ชื่อเรียกอื่นๆ กาฝากไม้มังตาล กาฝากก่อ พืชเบียดเกาะอาศัยแย่งอาหารของต้นไม้อื่น แตกกิ่งมาก และย้อยห้อยลง ยาว 1-2 ซม. กิ่งอ่อนค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่สลับแผ่นใบรูปไข่แกมรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมมน ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบเป็นแท่ง สีแดงคล้ำ หลุดร่วงง่าย ก้านช่อดอกมีขนสั้น มีดอกย่อยจำนวนมาก เรียงชิดกัน กลีบดอกรูปขอบขนานแคบๆ 5 กลีบ โค้งกลับ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ผล กลมรีถึงรูปไข่กลับ มี 1 เมล็ดสีเหลืองเมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ