สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. ก ข ไม่กระดิกหู
ความหมายสุภาษิตคำพังเพย ก ข ไม่กระดิกหู
ที่มาของสำนวน เป็นสำนวนโบราณใช้ในการเปรียบเปรยถึงคนที่ไม่รู้หนังสือ การได้ยินอักษร เช่น ก ข หรือคำต่างๆ ไม่กระดิกหู คือฟังแล้วไม่รู้เรื่องนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิต ก ข ไม่กระดิกหู
- ผมนี่อยากจะเรียนภาษาอังกฤษจริงๆ แต่หัวไม่ไปเลย ฟัง A B ก็เหมือนก ข ไม่กระดิกหูเลย ไว้วันหนึ่งสมองโล่งๆ จะกลับมาตั้งใจเรียนภาษา เพราะสำคัญในสมัยนี้มาก
- นี่ฉันเลือกผิดหรือเปล่าที่มาเรียนภาษาจีน เรียนมาตั้งหลายปี ก ข ไม่กระดิกหู เสียดายเงินค่าเรียนจริงๆ
- สอนคนที่ไม่พร้อมจะเรียนรู้ก็เหมือนสอนให้ตายยังไงก็ไม่ได้ผล ฟัง ก ข ไม่กระดิกหู เสียเวลา เสียพลังงานคนสอนเปล่าๆ
- ที่เขาต้องลำบากอยู่ทุกวันนี้เพราะไม่รู้หนังสือ ตอนเด็กๆ พ่อแม่ส่งให้เรียน แต่เขาเป็นคน กข ไม่กระดิกหู ก็เลยต้องออกมาทำงานรับจ้าง
- จำไว้นะลูก เราต้องตั้งใจเรียนเพื่อจะได้มีการมีงานดีๆ ทำ ไม่เหมือนพ่อที่ไม่ตั้งใจเรียน ก ข ไม่กระดิกหู ชีวิตเลยลำบาก ถ้าอยากสบายต้องตั้งใจเรียน