สุภาษิตคำพังเพยสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล
X
Advertisements

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงพฤติกรรมการแสดงออกเกี่ยวกับ การพูด การเจรจา การกระทำ หรือกิริยาต่างๆ ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยใจคอ ว่าคนที่พูดมีนิสัยอย่างไร มีบุคลิกภาพอย่างไร เป็นคนสุภาพ อ้อนน้อม มองโลกในแง่ดี ถ้าพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะหู ในทางกลับกัน ถ้าพูดถ้อยคำที่รุนแรง ก้าวร้าว ใช้น้ำเสียงที่ดุดัน รวมถึงกิริยา การแสดงออกทางกาย ท่าทางต่างๆ และการแสดงออกทางความคิด ที่สื่อออกมา นี้ ล้วนสามารถเผยให้เห็นถึง ชาติกำเนิด เผ่าพันธุ์ สกุล หรือครอบครัว ว่าเป็นอย่างไร ผ่านการอบรมเลี้ยงดูมาแบบไหน ถึงได้แสดงออกมาเช่นนั้น

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การแสดงออกทางการพูดหรือกิริยามารยาท ที่จะชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานการในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน

สำนวนนี้ จึงมักนำมาใช้เปรียบเปรย สอนหรือตักเตือนให้ระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาทการเข้าสังคม ด้วยคนสมัยก่อนเชื่อว่า สำเนียงการพูดและกิริยาท่าทางคือ สิ่งที่แสดงความเป็นอารยชนของคนๆ นั้น ว่าเป็นอย่างไร สื่อให้เห็นว่าผ่านการอบรมเลี้ยงดูมาอย่างไร พื้นฐานครอบครัวเป็นเช่นไร และยังแสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมหรือสภาพสังคมของแต่บุคคล รสนิยมการใช้ชีวิต ทั้งยังสื่อให้เห็นถึงทัศนคติของคนผู้นั้นว่า มองโลกในแง่ดีหรือแง่ร้าย มีความฉลาดทางอารมณ์หรือไม่

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล

Advertisements


ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล

  • เราเป็นเด็กต่างจังหวัดถึงจะไม่รวย ไม่สวยแบบคุณ แต่ที่บ้านไม่เคยอบรมสั่งสอนให้ทำกิริยาแบบนี้กับผู้อื่น สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุลจริงๆ
  • การพูดจา กิริยาทางทาง มารยาทของคนเรา แสดงถึงตัวตนของคนเราได้ สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล คำพูด ท่าทางเป็น อย่างไร ก็มักจะแสดงออกทำให้รู้ถึงความคิด วิธีคิด ชาติกำเนิด หรือแม้กระทั่งใช้ตัดสินได้เลยว่าเป็นคนดีหรือไม่ เรื่องแบบนี้ ต้องหมั่นสังเกตุ เพื่อไม่ให้คนเหล่านั้นมาสร้างปัญหาให้กับตัวเอง เพราะคบคนไม่ดี
  • ปัจจุบันมีโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งที่ได้รับความนิยม ถูกนำมาใช้เปรียบเปรยถึงพฤติกรรมของคน ด้วยมีความหมายที่ลึกซึ้ง มีเจตนาสอนให้คนได้คิด รู้จักกาลเทศะ มารยาทการเข้าสังคม ซึ่งสามารถนำมาใช้พิจารณาคนและรู้จักการเลือกคบคน รวมถึงการคัดสรรคนเข้าทำงานของหน่วยงานต่างๆ อีกด้วย จากหนังสือประชุมโคลงโลกนิติ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ที่ว่า “ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน” โคลงบทนี้ แปลความหมายได้ว่า ก้านบัวสามารถบอกความตื้นลึกของน้ำได้ฉันใด กิริยามารยาทของคนก็ใช้บ่งบอกถึงการอบรมเลี้ยงดูได้ฉันนั้น คำพูดก็สามารถบ่งบอกให้รู้ถึงระดับสติปัญญาได้ เช่นเดียวกับหย่อมหญ้าที่เหี่ยวแห้งย่อมบอกให้รู้ว่าดินในบริเวณนั้นไม่สมบูรณ์มีความแห้งแล้ง ซึ่งมีความหมายที่เหมือนและใกล้เคียงกับสำนวน “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ที่ใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย
  • การที่เขามาทำมารยาทแบบนี้ในที่สาธารณะได้ สงสัยจะไม่ได้รับการอบรมมา สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล แท้ๆเชียว
  • การคบคนไม่ดีแล้วคนเหล่านั้นสร้างปัญหาให้เรา ดังนั้นจะคบใครจึงต้อง พิจารณาให้ดี สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล คำพูด กิริยา ท่าทาง ที่แสดงออกมา คำพูดไม่ดีเพียงคำเดียวที่หลุดจากปาก ก็ใช้ ตัดสินคนนั้นได้ทันที ว่าคบได้หรือไม่ จะได้ไม่ต้องคบให้เสียเวลา

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube

Advertisements