สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ล. ลงเรือแป๊ะ ตามใจแป๊ะ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยลงเรือแป๊ะ ตามใจแป๊ะ
ที่มาของสำนวน มาจากการพายเรือ แจวเรือหรือแล่นเรือโล้สําเภาในเมืองไทย เรือที่รับจ้างพาย หรือแจวขึ้นล่องตามแม่น้ำลําคลองไม่ว่าในชนบทหรือในพระนครมักเป็นเรือชาวจีน ที่จริงคนไทยก็พายเรือได้และมีอยู่ทั่วไป
“แป๊ะ” มาจากภาษาจีนว่า “แปะ” หรือ “อาแปะ” แปลว่าลุงหรือผู้สูงอายุ
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เมื่อต้องอาศัยใครหรืออยู่ร่วมกับใคร ก็ต้องเกรงใจ ยอมตามใจ อย่าไปขัดแย้ง กล่าวคือ การอยู่ร่วมกับเขา ไปกับเขา อาศัยเขาก็ต้องยอมตามเขา ไม่ขัดขืน เขาจะให้เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตลงเรือแป๊ะ ตามใจแป๊ะ
- ถึงฉันจะไม่เห็นด้วยกับแผนการทำงานครั้งนี้ แต่ทำยังไงได้งานนี้เขาเป็นหัวหน้าทีมปฏิบัติการ ลงเรือแป๊ะ ตามใจแป๊ะ
- สำนวนลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ ก็เป็นเช่นนี้เอง และมักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่เสมอ โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่การเมืองไทยอยู่ในช่วงฝุ่นตลบอบอวล
- ฉันไม่ชอบกินอาหารไทย แต่ตอนนี้ฉันมาอาศํยอยู่กับครอบครัวของคุณป้าที่ชอบกินแต่อาหารไทย ก็เลยต้องกินตามเขา อย่างว่าลงเรือแป๊ะ ตามใจแป๊ะ เลือกไม่ได้
- วันนี้ทุกคนลงเรือลำเดียวกันแล้ว เหมือนคำโบราณที่ว่า ลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ ไม่เช่นนั้นจะถูกไล่ลงจากเรือ ดังนั้นก็ต้องตามใจแป๊ะ
- บทกวีสั้นๆ “ลงเรือแป๊ะ” “ถ้าลงเรือแป๊ะต้องตามใจแป๊ะ ก็แบะๆ เบลอๆ แบบบ้าใบ้ ถามว่า ที่ลงเรือไปเพื่ออะไร หรือตามแต่แป๊ะให้ ไม่รู้คิด เห็นเรือแป๊ะสีสวยมีราศี เลยกระดี๊กระด๊าไปตามจริต ได้นั่งเรือลอยลำหลงทางทิศ ไม่รับรู้ถูกผิด แป๊ะนำพา เขาสั่ง ลงเรือแป๊ะต้องเชื่อแป๊ะ ต้องแบะๆ เบลอๆ แบบใบ้บ้า เดี๋ยวดูฉากถอดถอนตอนต่อมา จะชัดว่าลงเรือกันเพื่ออะไร?” ว.แหวนลงยา