สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จับแมวแจวเรือ จับเสือไถนา
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจับแมวแจวเรือ จับเสือไถนา
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการจับสัตว์ไปในทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือทำไม่ได้ คนโบราณได้เปรียบเปรยถึงแมวกับเสือ ให้คำสละสลวยให้คล้องจอง เอาแมวไปแจวเรือ เอาเสือไปไถนา คงเป็นไปไม่ได้ เพราะสัตว์เหล่านี้ทำตามแต่สัญชาตญาณตนเท่านั้น
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่มีทางสำเร็จ หรือใช้คนไม่เหมาะสมกับความสามารถ วางงานผิดท่า วางค่าผิดคน
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจับแมวแจวเรือ จับเสือไถนา
- แบบนี้ก็เหมือนจับแมวแจวเรือ จับเสือไถนา หัดยอมรับความจริงเสียบ้างว่าชีวิต มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วหมอจะไปหายาอายุวัฒนะ ที่ไม่มีวันแก่ ไม่มีวันตายมาได้อย่างไรง
- บทร้อง รำกลองยาว “ไอ้ลูกกลมๆ เขาเรียกมะนาว ไอ้ลูกยาวๆ เขาเรียกมะดัน ไอ้ลูกสั้นๆ เขาเรียกพุทรา ตะละลา แบแบะ แบแบะ ลูกควายหลงแม่ ไปกินนมใคร กินนมตั๊กแตน ท้องแบนท้องควาย ตะละลา ทิงโนง โน้งโนง นกกิ้งโครงมาเกาะหลังคา จับแมวแจวเรือ จับเสือไถนา จับเป็ดจับไก่ จับไข่พ่อตา ตะละลา”
- คุณสั่งให้เจ้าหน้าที่เดินออกตามหา กลุ่มคนที่หลงป่า ในเวลากลางคืนแบบนี้เนี่ยนะ จับแมวแจวเรือ จับเสือไถนาชัดๆ
- จบแมวแจวเรือ จับเสือไถนา ก็เหมือนวางงานผิดท่า วางค่าผิดคน รับรองเลยว่างานเสียหายหนักแน่นอน
- อยากจะบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ต้องรู้จักบริหารคนเป็นหลักสำคัญ การจับแมวแจวเรือ จับเสือไถนา นอกจากจะเสียเวลาแล้ว ยังเสียบุคคลที่มีคุณค่าในสายงานที่ถนัดอีกด้วย ทำให้เขาเหล่านั้นต้องลาออกไปที่อื่น