สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จับให้มั่นคั้นให้ตาย
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจับให้มั่นคั้นให้ตาย
ที่มาของสำนวน สำนวนนี้คนเราได้ยินเมื่อมีการพูดถึงสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้น เช่น ของถูกขโมย การคดโกง ยักยอกทรัพย์ หรือกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ เพราะคนทำผิดส่วนใหญ่ ถ้าไม่มีหลักฐานเพียงพอ ก็ไม่มีทางรับผิด ต้องมีหลักฐานมัดตัวดิ้นไม่หลุด เป็นที่มาของสำนวนจับให้มั่นคั้นให้ตาย
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การจะจับผิดหรือเอาผิดกับใครต้องมีหลักฐานแน่ชัด
นิยมใช้กับการที่จะไม่ปรักปรำใครง่ายๆ หรือไม่ลงโทษใครในขณะที่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ ต้องรอจนกว่าพยานหลักฐานแน่นหนาพอจนดิ้นไม่หลุดถึงจะกล่าวโทษหรือลงโทษ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจับให้มั่นคั้นให้ตาย
- ประชาชนเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ กวาดล้างพวกค้าอาวุธสงครม ทำลายชาติ ต้องจับให้มั่นคั้นให้ตาย เอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
- เด็กนักเรียนบางคนมีนิสัยขี้ขโมย ชอบแอบลักข้าวของคนอื่น ถ้าไม่จับให้มั่นคั้นให้ตาย จำนนด้วยหลักฐาน ก็จะไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด
- ผู้ชายกะล่อน เจ้าชู้อย่างเขาเธอต้องหาหลักฐานเด็ดๆ จับให้มั่นคั้นให้ตาย ไม่อย่างนั้นเขาก็ไม่มีทางยอมรับผิดแน่ๆ
- การติดตั้งกล้องวงจรปิด ทางของร้าน มีจุดประสงค์ เพื่อจับให้มั่นคั้นให้ตาย จัดการกับพนักงานที่ชอบลักขโมยของในร้าน เพื่อจะ ได้มีหลักฐานที่แน่ชัด ดิ้นไม่หลุด โดยเฉพาะร้านค้าที่มีสินค้าที่มีราคาแพงและมีราคา อย่าง ร้านทอง ร้านรับจำนำ
- ผู้จัดการรับทราบเรื่องทุจริตโกงเงินของบริษัท แต่ก็ยังทำเฉยๆไม่ว่ากล่าวใคร แต่พยายามสอดส่องและเก็บรวบรวมหลักฐาน เพื่อที่วันหนึ่งจะได้มัดคนที่ทุจริตให้จนมุมด้วยหลักฐานนั้นให้ได้ แบบนี้เองที่โบราณท่านเรียกว่าจับให้มั่นคั้นให้ตาย