สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ช. ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
ที่มาของสำนวน แยกเป็นสองประโยค โดยคำว่า “ชักน้ำเข้าลึก” คือการที่ชาวนาทดน้ำเข้านาเข้าสวนของตนเอง แต่ถ้าน้ำเข้ามามากจนลึกเกินไป ก็จะเป็นผลเสียต่อไร่นา ส่วน “ชักศึกเข้าบ้าน” คือการชี้ทางให้ศัตรูเข้ามาทำลายบ้านเมืองของตนเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ นําศัตรูเข้าบ้าน หรือผู้ที่นำอันตรายหรือศัตรู มาทำอันตรายสู่พรรคพวกหรือบ้านเมืองตนเอง โดยรู้ถึงผลที่จะเกิดแต่ก็ยังกระทำ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
- ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน ใช้เป็นสำนวนหมายความว่า ทำอะไรที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัว บรรยากาศการเมืองดุดันเกรี้ยวกราด มีทั้งศึกเหนือเสือใต้ กระทั่งศึกเขมรติดพันรุมเร้ารอบตัวอย่างนี้ จะพูดอะไรตรงๆก็คงไม่ได้ ตรงไปบางเรื่องก็ชักเภทภัยใส่ตัว บางเรื่องก็อาจรุนแรงชักพาเภทภัยให้บ้านเมือง ก็คงต้อง ชักแม่น้ำทั้งห้า อ้อมค้อมลดเลี้ยวไปเรื่อยๆ เอาตัวรอดไปวันๆ… อย่างนี้ต่อไป
- องอาจรู้ดีกว่า เพื่อนของเขาเคยมีประวัติอาชญากรรมแต่ก็ยังชวนมาอยู่ด้วยกันที่บ้าน ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้านแท้ๆ
- นายสมพลรู้จักกับนายสมหมายโดยบังเอิญ และได้คบหาสนิทสนมกัน จนเข้านอกออกในบ้านของนายสมพลได้อย่างสบาย แต่ว่าพ่อแม่ของนายสมพลไม่ค่อยสบายใจนักเนื่องจากรู้มาว่านายสมหมายเป็นลูกชายของนายสมศักดิ์คู่แข่งทางการค้าของตน เพราะกลัวว่านายสมหมายจะมารู้ความลับทางธุรกิจและนำไปบอกบิดาของตนเอง เหมือนที่โบราณท่านว่าไว้ว่า นายสมพลกำลัง ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
- ก่อนจะรับพนักงานเข้ามาทำงาน ตรวจสอบประวัติให้ดีก่อนนะ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
- ทหารบางประเทศชอบชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน หาเรื่องยึดอำนาจไปวันๆ ทั้งๆ ที่ตนเองทำอะไรก็ไม่เป็น ไม่ใช่หน้าที่บริหาร หน้าที่คือปกป้องประเทศ ไม่ใช่ไล่ยึดอำนาจ