สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ด. เด็ดบัวไม่ไว้ใย
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเด็ดบัวไม่ไว้ใย
ที่มาของสำนวน มีที่มาจากบัวซึ่งเป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง มีเหง้ายาวอยู่ในโคลนตม ดอกและใบอยู่เสมอน้ำ หรือชูขึ้นพ้นน้ำ ก้านบัวมีใย ซึ่งเมื่อหักจะมีใยยืดออกมาบางๆ โยงก้านบัวไม่ให้ขาดจากกันอย่างเด็ดขาด แต่ถ้าหักและดึงอย่างแรง ใยก็จะขาด จึงนำมาเปรียบกับคนที่เคยรู้จัก สนิทสนมหรือเป็นญาติพี่น้องกัน ถ้าผิดใจหรือโกรธกันอย่างเด็ดขาด ก็ยังควรมีเยื่อใย จึงใช้สำนวนนี้ในเชิงตัดพ้อว่า เด็ดบัวไม่ไว้ใย หรือใช้ว่า เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย
นอกจากนี้มีอีกสำนวนหนึ่งที่มีความหมายคล้ายกันว่า เด็ดปลีไม่มีใย ปลี ในที่นี้หมายถึงปลีของกล้วย ซึ่งมีใยเหมือนใยบัว
สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การตัดขาดกัน ตัดญาติขาดมิตร ไม่มีเยื่อใยต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์ ไม่เกี่ยวข้องกันอีก นับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปทั้งสองฝ่ายจะตัดขาดความสัมพันธ์กันอย่างสิ้นเชิง ไม่สนใจใยดี หรือไม่อินังขังขอบกันอีกต่อไป
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเด็ดบัวไม่ไว้ใย
- เราคบกันมาเป็นสิบปี แต่เธอกลับใส่ร้ายป้ายสีโยนความผิดร้ายแรงมาให้กันแบบนี้ จะเด็ดบัวไม่ไว้ใยกันเลยใช่ไหม
- เธอกับฉันคบกันมาตั้งนานมาผิดใจกันด้วยเรื่องเล็กน้อย จะเด็ดบัวไม่ไว้ใยเชียวหรือ ไว้ใจเย็นๆ ค่อยมาคุยกันอีกที
- พอสิ้นบุญผู้ใหญ่ ญาติพี่น้องต่างก็แย่งชิงทรัพย์สมบัติมาเป็นของตน ทะเลาะกันจนถึงขั้นตัดบัวไม่ไว้ใยกันเลย
- สมชายกับสมหมายเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่เด็ก แต่พอโตขึ้นป้อมกับตู่ได้หลงรักผู้หญิงคนเดียวกัน ทำให้ทั้งสองทะเลาะกัน และต้องตัดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันชนิดที่ว่า เด็ดบัวไม่ไว้ใย
- หนุ่มๆ สาวๆ สมัยนี้เดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ร้าย เรียกว่ายังตัดไม่ขาดยังเหลือเยื่อใยอยู่ ถ้ามันถึงที่สุดก็จงพิจารณาให้ดีๆ แล้วใจกล้าๆ ลองเด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม้ไว้ใย ดูสักครั้งเถอะ