สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ล. ลดราวาศอก
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยลดราวาศอก
ที่มาของสำนวน “ลดรา” รวมความแล้วก็หมายความว่า การทำให้น้อยลง ต่ำลงกว่าที่มีอยู่เดิม จนกระทั่งค่อยๆ เลิกไปเอง ส่วน “วาศอก” ที่เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อขยายความให้ชัดเจนขึ้นว่า หมายถึงความยาว ที่มันอาจจะยาวเป็นวาก็ลดมาให้สั้นเข้าเหลือเพียงศอกเดียว
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การอ่อนข้อ ยอมอ่อนลง ยอมผ่อนปรนให้ เช่น เถียงกันไม่ลดราวาศอก
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตลดราวาศอก
- อยากให้ win-win ทั้งคู่ ทั้งสองฝ่ายต้องลดราวาศอกกันบ้าง เพื่อคุยกัน แต่ดูวันนี้แล้วไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะไม่มีใครยอมอ่อนข้อให้กันเลย
- การจราจรติดขัดส่วนให้เกิดจากการที่ผู้ขับขี่ไม่ยอมกัน ไม่ลดราวาศอกให้แก่กัน ทำให้กลายเป็นปัญหาลุกลามจนเกิดอุบัติเหตุ
- การต่อล้อต่อเถียงที่อาจจะมีความยืดยาว ก็ลดการโต้ตอบลงให้มันสั้นขึ้น เรื่องราวก็อาจจะจบลงอย่างง่ายๆ ว่าลดราวาศอก
- ขณะที่บ้านเมืองกำลังมีปัญหาทุกฝ่ายควรหัดหน้าเข้าหากัน ยอมลดราวาศอกให้กันบ้าง อย่าคิดแต่จะเอาชนะอย่างเดียว
- เราเป็นน้องก็ต้องลดราวาศอก ให้พี่เขาบ้าง เรื่องจะได้ยุติลงด้วยดี พี่เขาสอนเรา เพราะเขาหวังดี