สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงการที่จะสร้างบ้าน ผู้สร้างบ้านต้องถามความต้องการของผู้ที่จะอยู่อาศัยเป็นสำคัญ โดยใช้ความคิดของผู้ก่อสร้างเป็นเป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้นแต่การตัดสินใจควรเป็นผู้ที่อาศัย เช่น ชอบบ้านทรงแบบไหน ต้องการกี่ห้อง ฯลฯ
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การกระทำการใดให้ใครต้องถามความต้องการ หรือความสมัครใจของผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์ และผลกระทบโดยตรง
กล่าวคือ เวลาจะทำอะไรให้ผู้อื่นนั้น ก็ต้องถามความต้องการ หรือความเห็นชอบจากผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงเสียก่อน อย่าเอาแต่ความคิดของผู้ทำเป็นหลักในการตัดสินใจ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
- แม่ก็เป็นเพียงคนแนะนำ ให้คำปรึกษา จะไปบังคับให้ลูกแต่งงานกับคนที่ลูกไม่ได้รักได้อย่างไร โบราณเขาว่าปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
- สมัยนี้หรือสมัยไหนเวลาสร้างบ้านต้องปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน หากกล่าวตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองในปัจจุบันแล้ว การมีบ้านที่สวยงาม ก่อสร้างได้ถูกต้องตามความพึงพอใจของเจ้าของบ้านทุกประการสักหลังนั้น คงสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะกับบุคคลที่มีปัจจัยในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนครบถ้วน นั่นคือ มีที่ดินเป็นของตัวเอง มีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีงบประมาณในการก่อสร้างที่เพียงพอสามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ตามความต้องการทุกประการ
- พ่อของสมชายเป็นช่างก่อสร้าง เขาต้องการสร้างบ้านให้กับลูกของเขา ก่อนออกแบบบ้าน เขาได้ไปสอบถามความต้อมการของสมชายก่อนว่าต้องการบ้านแบบไหน กี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ ต้องการที่จอดรถด้วยหรือไม่ กรณีนี้ตรงกับสำนวนสุภาษิตไทยที่ว่า ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
- ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน นิยมใช้เพื่อสอนว่า เราควรตามใจผู้ที่ต้องรับหรือเป็นเจ้าของใหม่ ให้เขาได้เลือกของสิ่งนั้นๆ เอง เช่น การให้ลูกเลือกคู่ครองเอง การให้เขาเลือกรถยนต์รุ่นและสีที่ชอบเอง และ ห้ลูกหลานได้เลือกบ้านหลังใหม่ซึ่งเขาจะต้องอยู่ด้วยตัวเอง
- การทำอะไรตามใจผู้รับ มักจะทำให้ผู้รับ รู้สึกดี รู้สึก มีความสุขกับสิ่งที่ได้รับ ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ผูกอู่ตามใจผู้นอน ผู้รับต้องการแบบใด ก็ทำให้แบบนั้น ก็จะมีความสุขทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ให้และผู้รับ