สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
ที่มาของสำนวน มาจากพุทธศาสนสุภาษิต ที่ว่า “ทุกขะโต ทุกขะถานัง” โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกายธรรมบท ว่า “ผู้ใดประทุษร้ายผู้ไม่ประทุษร้ายตนเป็นคนบริสุทธิ์ไม่มีความผิดเลย บาปย่อมกลับมาถึงคนพาลผู้นั้นเอง เหมือนกับละอองฝุ่นที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น”
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทำอะไรไม่ดีไว้กับผู้อื่น สิ่งนั้นก็จะย้อนมาเกิดกับเราเหมือนกัน
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
- ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว กรรมใดใครก่อกรรมนั้นคืนสนอง ไม่วันนี้ ก็วันหน้าก็ต้องพอเจออย่างแน่นอน
- การให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัวนั้นเป็นความจริง เมื่อใครคิดตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์คนอื่น ตัวเองก็จะต้องพลอยรู้สึกเจ็บปวดไปด้วย ไม่ได้เบาบางกว่าเลย
- บ้านของประยุทธอยู่ในเมือง ตอนกลางคืนมีรถผ่านไปมาตลอด เพราะมีบางคนทำงานในตอนกลางคืน บ้างก็ออกไปเที่ยว ทำให้ประยุทธเกิดความรำคาญในเสียงรถ เขาจึงนำตะปูไปโรยเพื่อให้รถคนอื่นรั่ว ต่อมาไม่นานสมชายก็พบว่ารถของตัวเองเกิดรอยรั่วเนื่องจากตะปูที่ตนโรยไว้ นี่แหละที่เขาเรียกว่า ให้ทุกข์แก่ท่านทุกนั้นถึงตัว
- ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว เราทำอะไรลงไปย่อมได้รับผลของการกระทำอย่างนั้น สะท้อนกฎแห่งกรรมที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- เธอไปโกหกเขา หลอกเอาผลประโยชน์เขาก่อน สุดท้ายเขาเอาคืนไปหมด นี่แหละนะให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว ทำอะไรกับใครไว้ ก็โดนอย่างนั้นคืน ยุติธรรมดีจริงๆ กฏแห่งกรรม