สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นกสองหัว
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนกสองหัว
ที่มาของสำนวนนี้ ที่มาไม่แน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า สมัยก่อนที่ชาวต่างชาติเข้ามาในไทย อาจจะมีคนไทยบางคนที่แสดงตนว่าอยู่ในความคุ้มครองของชาวต่างชาติด้วยการเจาะรูที่เหรียญของชาวต่างชาติชาตินั้นแล้วนำมาห้อยคอเป็นสัญลักษณ์
ถ้าข้อสันนิษฐานนั้นเป็นจริง ในสมัยอยุธยา ก็น่าจะหมายถึงเหรียญ Double eagle ของรัสเซีย ซึ่งดูแล้วเหมือนนกที่มีสองหัว
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำตัวเข้ากับทั้งสองฝ่ายที่เขาไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนกสองหัว
- เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งแต่งมาก่อนที่ซาเรวิชจะเสด็จมาเมืองไทยแน่ๆ ดังนั้นการสันนิษฐานของท่านว่า สำนวน “นกสองหัว” มาจากการที่คนไทยได้เห็นตราแผ่นดินของรัสเซียน่าจะไม่ถูก คนไทยน่าจะได้เห็นตรานี้มานานตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยเฉพาะในสมัยของพระนารายณ์ที่มีบาทหลวงเข้ามาเมืองไทยเป็นจำนวนมาก
- คนสองหน้าไม่น่าไว้ใจอย่างไร พวกนกสองหัวก็ไม่น่าไว้ใจฉันนั้น ใครจะรู้ว่า ภายใต้ใบหน้าอันแสนไร้เดียงสา และคำพูดจาที่แสนจะไพเราะของใครบางคน จะแฝงไปด้วยความมุ่งร้าย
- ตรานกสองหัวก็อาจถูกใช้ในบรรดาชาวคริสต์เพื่อบ่งบอกว่าเป็นคนเข้ารีตเหมือนกัน คนไทยสมัยนั้นจึงให้สมญาพวกเข้ารีตว่าเป็น “นกสองหัว” นั่นเอง
- ในสงคมการทำงานทุกๆ ที่ย่อมมีคนประเภทนกสองหัวเสมอ ทำใจไว้เถอะพวกเรา
- บางครั้งสถานการณ์ต่างๆ ต้องบีบให้เราเป็นนกสองหัว เพื่อนเอาตัวรอดไว้ก่อน