สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ย. ยกหางตัวเอง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยยกหางตัวเอง
ที่มาของสำนวน เปรียบกับธรรมชาติของหมาเวลาถ่าย ตามปกติธรรมดาธรรมชาติของสุนัขเวลามันจะถ่ายอุจจาระ มันจะต้องยกหางเสมอๆ โดยสุนัขไม่มีใครไปยกหางให้มัน ไม่ต้องให้ใครช่วย มันจะยกหางของมันเองในเวลาที่มันถ่าย จึงนำมาเปรียบเทียบกับคนนั้นเป็นเรื่องที่น่าละอาย และแสดงให้เห็นว่าคนมองพฤติกรรมดังกล่าวในแง่ลบ
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ยกตนเองว่าดีว่าเก่งว่าดี กล่าวคือ คนที่พูด หรือแสดงตนว่าดีว่าเก่ง หลงตัวเอง ชมตัวเองว่าดีอย่างนู้นอย่างนี้ ต่อหน้าบุคคลอื่นๆ ว่ายกหางตัวเอง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตยกหางตัวเอง
- คนที่ยกยอตัวเอง ยกหางตัวเอง จริงๆ แค่อยากปิดบังความอ่อนแอที่แท้จริงเท่านั้นแหละ เพราะคนจริงมองจากดาวอังคารก็รู้
- ถึงผมจะเรียนจบด้านการออกแบบมาโดยเฉพาะ แต่ก็ไม่อยากยกหางตัวเอง เพราะรู้ตัวว่ายังขาดประสบการณ์อีกมาก
- ดูคนนั้นไว้ให้ดีนะมันชื่อประยุทธ ชอบยกหางตัวเองว่าเป็นคนดี เก่งแบบนู้นแบบนี้ พอทำจริง ทำห่าอะไรไม่เป็นเลย นอกจากสั่งๆ ไม่รู้ว่าขึ้นเป็นใหญ่ได้ยังไงคนแบบนี้
- เขาก็เพิ่งเข้ามาลงมือทำงานด้านนี้ได้ไม่นาน แต่คิดว่าตัวเองอาวุโสกว่าก็เลยยกหางตัวเอง คิดว่ามีวิชาความรู้มากกว่า เก่งกาจกว่าคนอื่น
- นี่คุณ อย่ามาขี้โอ่ ยกหางตัวเองว่าเก่งทั้งๆ ที่เพิ่งขับรถเป็น พบขับมาเป็น 20 ปี ยังไม่อยากจะอวดดีเลย ถนนจริงมันอันตรายมาก จะบอกให้