สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตีปลาหน้าไซ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตีปลาหน้าไซ
ที่มาของสำนวนนี้ ตีปลาหน้าไซมีปรากฏอยู่ในหนังสือมหาชาติ หรือ เวสสันดรชาดก ที่มีมาตั้งแต่ แผ่นดิน พระพรมไตรโลกนาถ แต่น่าแปลกที่ในตัวบาลี ที่ตรงกับตีปลาหน้าไซซึ่งไม่ทราบแน่ว่าจะเป็นสำนวนของชาติไทย หรือชาติอินเดีย สำนวนนี้มีในกัณฑ์ กุมารตอนพระเวสสันดร ให้ทานสองกุมาร แต่ชูชก แล้วชูชกตีสองกุมาร” เช่นกาพย์กุมารมรรพครั้งกระศรีอยุธยาว่า โอ้แสนสงสารพระลูกเอย กระไรเลยอนาถา ทั้งพราหมณ์เฒ่าก็ไม่เมตตา ตีกระหน่ำ นี่เนื้อแกล้งไห้เราชอกซ้ำแตกฉานในมกุฎทานบารมี เหมือนรายชาติเสื่อมศรีฤษยา มาตีกั้นสกัดปลาที่หน้าไซ บรรดาจะได้พระโพธิญาณ
ไซ เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านคุ้นเคย เพราะผู้ชายสมัยก่อนเมื่อคิดจะมีเหย้ามีเรือนต้องฝึกหัดจักสานเครื่องมือเครื่องใช้ให้เป็น เปรียบกับการจับปลาโดยใช้ไซวางไว้ในลำน้ำเพื่อดักให้ปลาเข้า เมื่อมีคนตีปลาหรือกระทุ่มน้ำตรงหน้าไซทำให้น้ำปั่นป่วนปลาจึงตื่นหนีไปไม่เข้าไซที่ดักไว้
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ใช้เปรียบเทียบคำพูดหรือการกระทำซึ่งขัดขวางกิจการที่กำลังดำเนินไปด้วยดีให้หยุดชะงักลง ฉวยโอกาส เอาแต่ประโยชน์ของตนเป็นหลัก ทำอะไรเสียหายไม่คำนึงถึง หรือขัดผลประโยชน์ที่เขาควรมีควรได้อยู่แล้วให้เสียไป
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตีปลาหน้าไซ
- น่าเจ็บใจจริงๆ โดนร้านค้าคู่แข่งมาตีปลาหน้าไซ เพราะเขาใส่ร้าย เที่ยวป่าวประกาศบอกลูกค้าของเราว่าสินค้าเราไม่ดี
- คนเขากำลังจะได้ปลา นี่มาโยนหินลงน้ำ มาตีปลาหน้าไซทำให้ปลาหนีหมด เด็กพวกนี้ซนจริงๆ
- แม่ค้าเขาต้องว่าฉันเป็นพวกชอบตีปลาหน้าไซแน่ๆ เพราะเวลาเพื่อนจะซื้อของฉันมักถามว่า ที่ซื้อไปแล้วได้ใช้แล้วหรือ ทำให้เพื่อนตัดสินใจไม่ซื้อทำให้แม่ค้าเขาเสียผลประโยชน์ไป
- ตีปลาหน้าไซชัดๆ! ลูกค้ารายย่อยรอซื้อหวยชุด แต่กลับโดนพ่อค้ารายใหย่ตัดหน้ากว้านซื้อไปหน้าตาเฉย แบบนี้ลูกค้ารายย่อยหลายคนเสียหาย เสียเวลา เสียผลประโยชน์
- ผลประโยชน์ที่รัฐบาลสมควรได้รับ ต้องตกอยู่มือในทุนใหญ่หมด เมื่อรัฐให้อำนาจนายทุนมากเกินไป นายทุนพวกนี้ก็ฉวยโอกาสตีปลาหน้าไซ ทำให้ผลประโยชน์ข้องรัฐและประชาชนน้อยลงไปมาก