สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. หาเหาใส่หัว
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหาเหาใส่หัว
ที่มาของสำนวน เปรียบในยุคสมัยก่อนเด็กผู้หญิงมักจะเป็นเหา หากเด็กหญิงคนไหนไม่มีเหา เมื่อเห็นเพื่อนเป็นเหา จึงอยากจะเป็นเหมือนเพื่อนบ้าง จึงหาตัวเหามาใส่ผมของตน ซึ่งเหานั้นทำให้เกิดอาการคัน สร้างความรำคาญ จึงนำมาใช้เป็นสำนวนที่มีความหมายถึงการนำความเดือดร้อนมาสู่ตน เช่นเดียวกับการหาเหาใส่หัว
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ นำพาปัญหาเรื่องเดือดร้อนมาสู่ตนเอง ทั้งๆ ที่เรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องของตน แต่เข้าไปยุ่งจึงต้องเดือดร้อน
กล่าวคือบุคคลที่หาเรื่องเดือดร้อนให้ตนเอง หรือไปวุ่นวายกับเรื่องของชาวบ้านจนตัวเองเดือดร้อน สำนวนนี้มักใช้เปรียบเทียบถึงคนที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบวุ่นวายกับเรื่องของคนอื่น ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ จนสร้างความเดือดร้อนกลับมาหาตนเองในที่สุด
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตหาเหาใส่หัว
- นายสมชาย เห็นแม่ค้าถกเถียงกันอยู่อย่างหน้าดำคร่ำเครียด จึงเข้าไปนั่งฟังและร่วมเข้าโต้เถียงด้วย จนเกิดการทำร้ายร่างกายกันขึ้น สุดท้ายต้องเจ็บทั้งตัวและต้องขึ้นโรงขึ้นศาลอีกด้วย
- คุณนายสายสมรเห็นเด็กขายพวงมาลัยคนหนึ่งก็นึกสงสาร จึงจ้างให้เด็กคนนี้มาทำสวนที่บ้านแล้วให้ค่าตอบแทน อยู่มาวันหนึ่งคุณนายกลับมาจากงานเลี้ยง ปรากฎว่าข้าวของที่บ้านหายไปหลายชิ้น ดูจากกล้องวงจรปิด ก็ได้รู้ว่าเป็นฝีมือของเด็กคนนั้น
- มีชีวิตสงบๆ ทำงานเก็บเงินเงียบๆ อย่าหาเหาใส่หัวด้วยความโลภ ไปทำอะไรเสี่ยงๆ ในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ อาจทำให้ชีวิตล่มจ่มได้เลยนะ
- การหาเหาใส่หัวหรือหาเรื่องใส่ตัวระดับบิ๊กๆ มีผลกระทบต่อตน และสังคมประเทศชาติอย่างมหาศาล ก็มีอยู่มากมายอย่างเช่น… รัฐบาลชุดนี้กำลังจะล้างมาเฟียให้สิ้นซาก
- คุณอย่าไปยุ่งกับเรื่องครอบครัวคนอื่นเลย เดี๋ยวจะเดือดร้อนครอบครัวเราเองเปล่าๆ ปัญหาของเราก็มีมากพอแล้ว อย่าหาเหาใส่หัว ขอร้อง!