สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. ฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง
ที่มาของสำนวน เปรียบดังฆ้องคุณภาพดี แต่ก็ต้องมีคนดีถึงจะมีเสียงดังขึ้นมา โดยฆ้องคือคือเครื่องตีให้เกิดเสียงทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีขอบงองุ้มลงมาโดยรอบ มีอยู่ในทุกวัด คนไทยนิยมเปรียบฆ้องกับคนเพราะฆ้องอยู่ในวัด และคนไทยเรา 95% เป็นชาวพุทธ ย่อมอยู่กลมกลืนกับวัดกับพระพุทธศาสนา
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ที่มีคุณความดีในตัวนั้น ถ้าไม่มีใครยกย่องชมเชยก็จะไม่มีใครเห็นความดีนั้น
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง
- บางครั้งการเป็นคนดีย่อมไม่ต้องพิสูจน์ความดีให้ใครเห็น แต่สักวันหนึ่งก็จะมีคนเห็นเอง โดยไม่ต้องคาดหวังอะไรเลย ถึงจะเราจะเหมือนฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง ก็ไม่เป็นไร ไม่เสียหายอะไร
- ลุงสมชายแกทำดี ทำบุญมาตลอด แต่ทุกกลับมองข้ามแก ข้ามหัวแก ทั้งๆ ที่แกไม่เคยทำอะไรให้ใครเลย แกเป็นคนเงียบๆ ไม่พูดกับใคร นี่แหละเข้าสำนวนที่ว่าฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดังจริงๆ
- อยากให้คนมาสนใจก็ต้องโปรโมทกันหน่อย อยากจะหาแฟนดีๆ เราก็ต้องดีก่อน การไม่เสนอสิ่งดีๆ ในตัวเราก็เหมือนฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง เพราะอีกฝ่ายไม่สามารถอ่านจิตใจเราได้ เพราะฉะนั้นเราต้องกระทำให้เห็น
- ระฆังดังเมื่อคนตี คนดีไม่ตีก็ดัง ทำดีแล้วดัง ดีกว่าคนชังเพราะชั่ว เฉกเช่นเดียวกับ ฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง
- ฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง คนจะดีเพราะมีคนคอยเตือน เปรียบเสมือนกติการ่วมกัน ถ้าไม่มีกติกา กฏระเบียบ คำตักเตือน ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันเดือนร้อน การประพฤติพรหมจรรย์ของสามเณรอาศัยกัลยาณมิตรครูบาอาจารย์คอยตักเตือน ของพระสงฆ์ก็เช่นกัน