สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ว. วัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยวัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน
ที่มาของสำนวน เป็นการเปรียบเปรยคนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน กับวัวที่หวงหญ้าเอาไว้กินตัวเดียว หรือบ่าวรับใช้ที่เห็นแก่กิน ตะกละตะกลาม มักใช้กับลูกน้อง หรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ คิดจะกอบโกยเอาแต่ผลประโยชน์อย่างเดียว
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตวัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน
- อยากก้าวในชีวิตอย่าทำตัวเป็นวัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน ความเห็นแก่ตัว ไม่ให้ประโยชน์อะไรแก่ตนเองและผู้อื่นแม้แต่น้อย มีแต่จะต่ำลงทุกวัน
- พวกวัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน ยอมเสียศักดิ์ศรีก้มหัวให้คนเลวยอมทำทุกอย่างเป็นผลประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องเลย
- หัวหน้ามาระบายความในใจให้ผมฟังว่า ตั้งแต่รับนายดำซึ่งเป็นญาติของลูกน้องเก่าแก่ของคุณพ่อ มาทำงานด้วย ไม่มีวันไหนเลยที่นายดำจะไม่ทำตัวเป็นวัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กินเลยสักวันเดียว
- เจ้านายให้อาหารให้ที่อยู่ เลี้ยงดูดีขนาดนี้นายยังจะทำตัวเป็นวัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กินอยู่อีก
- ลูกน้องนิสัยไม่ดี โดยเฉพาะพวกคนที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ วัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน แบบนี้ต้องไล่ออกให้หมด เลี้ยงไว้บริษัทชิบหายแน่ๆ