สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ข. ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ
ที่มาของสำนวน ในสำนวนนี้คือบริวาร หรือคนรับใช้ทำงานนอกเหนือคำสั่งของเจ้านาย (ย่อมเป็นผลเสียแก่เจ้านาย) และข้าวที่หุงแล้วมันล้นออกมานอกหม้อ (ย่อมไม่เป็นผลประโยชน์แต่อย่างใด) ดังนั้นทั้งสองกรณีนี้ นอกจากไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรแล้ว ยังกลับทำให้เดือดร้อนอีก
ถ้าบริวาร หรือลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ทำงานนอกเหนือคำสั่งของเจ้านาย ย่อมทำให้ผู้เป็นนายได้รับความเดือดร้อน และเกิดความเสียหายขึ้นมาได้ เปรียบเสมือนดั่งข้าวที่หุงแล้วมันล้นออกมานอกหม้อ ส่วนที่ล้นออกมานอกจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ยังทำความลำบากให้ต้องเก็บไปทิ้ง และเช็ดถูอีกนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวนคือ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ การกระทำหรือประพฤติปฏิบัติอะไรออกไปนอกเหนือจากคำสั่ง นอกแบบอย่างขนบธรรมเนียมประเพณี
จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมากย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่างๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อหลานนอกปู่ เป็นขึ้น
กล่าวคือ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือบริวาร ไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน หรือทำงานนอกเหนือคำสั่ง นอกแบบอย่างขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ
- นายเดชาไม่ค่อยถูกกับหัวหน้า เพราะเขาชอบทำตัวเป็นพวกข้านอกเจ้า ข้าวนอกหม้อ หัวหน้าสั่งให้ทำแบบนี้ แต่เขากลับทำแบบนั้น
- สมชาย ชอบทำงานเอาหน้า เขากระทำตนเป็นข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ แอบเรี่ยไรเงินจากพนักงานในบริษัท มาจัดงานวันเกิดให้ผู้จัดการ
- ทุกองค์กรมีกฏระเบียบที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามไม่ใช่ทำตัวเป็นข้านอกเจ้า เข้านอกหม้อแบบนี้ระวังจะถูกเชิญให้ออกจากงานโดยไม่รู้ตัว
- วิชิตไม่ค่อยลงรอยกับเจ้านาย ก็เพราะหล่อนชอบทำตัวเป็น ข้านอกเจ้า ข้าวนอกหม้อ สั่งให้ทำอะไรก็คอยแต่จะนอกลู่นอกทางตลอด
- เป็นข้าราชเป็นคนของแผ่นดินอย่าทำอะไรเป็นข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ นอกจากจะไม่มีใครเคารพแล้ว ยังเสี่ยงที่จะทำงานแบบอยู่ไม่สุขอีกด้วย ต้องฟังผู้หลักผู้ใหญ่ในเรื่องที่ถูกต้องเสมอ