สุภาษิตคำพังเพยนกมีหู หนูมีปีก ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยนกมีหู หนูมีปีก

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นกมีหู หนูมีปีก

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนกมีหู หนูมีปีก

ที่มาของสำนวน มาจากนิทานเก่า สำนวนดั้งเดิมผู้แต่งคือ พระยาวิจิตร์ธรรมปริวัตร (คำ พรหมกสิกร) เล่ากันสืบต่อมา ดังนี้

เดิมค้างคาวได้อาศัยกินอยู่กับฝูงนก มีนกตัวหนึ่งเป็นนาย ครั้นอยู่มาวันหนึ่งนกที่เป็นนายสั่งให้พวกนกและค้างคาวที่เป็นบริวารให้ทำรังอยู่ ค้างคาวก็ไม่ทำตามคำสั่ง

นายนกจึงต่อว่าค้างคาวว่า “เราสั่งให้ทำรังอยู่ ทำไมจึงไม่ทำ” ค้างคาวก็เอาหูออกมาอวด แล้วพูดว่า “เรามีหู เราไม่ใช่พวกของท่าน เราเป็นหนูต่างหาก”

นายนกจึงตอบว่า “อ้าว! ถ้าท่านเป็นพวกหนู ก็ไปอยู่กับพวกหนูสิ”

ครั้นค้างคาวถูกไล่แล้ว ก็ไปอาศัยอยู่กับพวกหนู อยู่มาได้สักพักหนึ่งนายหนูก็สั่งให้พวกบริวารช่วยกันทำรูอยู่ ค้างคาวก็ไม่ยอมทำ นายหนูจึงว่า “เราสั่งให้ทำรูอยู่ ทำไมจึงไม่ทำ”

ค้างคาวก็กางปีกออกให้ดู แล้วพูดว่า “เรามีปีก เราไม่ใช่พวกของท่าน เราเป็นพวกนกต่างหาก” หนูจึงตอบว่า ” เมื่อเจ้าเป็นนก ก็ไปอยู่กับพวกนกสิ”

ค้างคาวก็กลับไปหานก กระพือปีกให้ดูแล้วบอกว่า “เราเป็นพวกนก” ฝ่ายนกจึงว่า “เอ๊ะ! เจ้าค้างคาวนี่พูดสับปลับ เมื่อเราสั่งให้ทำรัง ก็เอาหูออกอวด บอกว่าเป็นพวกหนู เดี๋ยวนี้สิ กลับเอาปีกออกมาอวด บอกว่าเป็นพวกนก เราไม่ยอมให้อยู่ด้วย”

ค้างคาวก็กลับไปหาหนู เอาหูอวดแล้วบอกว่า “เราเป็นพวกของท่าน” หนูจึงว่า ” เออ! เมื่อเราสั่งให้ทำรูอยู่ เจ้าก็เอาปีกออกมาอวดบอกว่าเป็นพวกนก บัดนี้สิ กลับเอาหูออกมาอวด บอกว่าเป็นพวกของเรา เจ้านี่สับปลับมาก เราไม่ยอมให้อยู่ด้วย”

เมื่อความนี้รู้ไปถึงนายนกและนายหนูทั้ง 2 ข้างว่าค้างคาวเที่ยวพูดตลบตะแลงมาทั้งสองแห่ง นายทั้ง 2 จึงปรองดองกัน นัดประชุมปรึกษาโทษค้างคาว

จึงตกลงพร้อมกันว่า ค้าวคาวนี้มีโทษมาก เพราะเที่ยวทำสับปลับตลบตะแลง ไม่ควรจะอยู่ในโลกต่อไป

ค้างคาวครั้นรู้คำปรึกษาดังนั้น ก็มีความเศร้าโศกมาก จึงอ้อนวอนขอโทษว่า ” ตั้งแต่นี้ต่อไปจะไม่ประพฤติตนสับปลับตลบตะแลงเช่นนี้อีกเลย

ที่ประชุมเห็นค้างคาวรู้สึกสำนึกความผิดของตัวเองเช่นนั้นแล้ว จึงยอมผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ให้ค้างคาวอยู่ในโลกได้ แต่ห้ามไม่ให้ใครคบหาด้วย แม้จะกินจะอยู่หรือนอน ก็ห้ามไม่ให้กิน ไม่ให้อยู่ ไม่ให้นอน เหมือนนกเหมือนหนู ให้ห้อยหัวกิน ห้อยหัวอยู่ ห้อยหัวนอน และห้ามไม่ให้ออกหากินในเวลาเดียวกันกับนกและหนูด้วย

นิทานเรื่องนี้จึงสอนว่า มนุษย์พวกที่ชอบเปลี่ยนข้างกลับกลอก เมื่อถึงคราวคับขัน พวกเขาสามารถที่จะประณามสิ่งที่พวกเขาเคยยกย่องได้ในทันทีทันใด

สำนวนที่คล้ายกัน นกสองหัว

สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ทำอะไรกลับกลอก เข้าพวกกับทั้งสองฝ่ายเพื่อหวังประโยชน์ของตนเอง

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยนกมีหู หนูมีปีก

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนกมีหู หนูมีปีก

  • โลกของตลาดหุ้น ตลาดทุน คนก็นกมีหู หนูมีปีกทั้งนั้น ต่างฝ่ายต่างหาประโยชน์เข้าตัวเองมากที่สุด นี่แหละโลกทุนนิยม
  • อย่างนายมันก็แค่นกมีหู หนูมีปีก ไม่ได้มีความจริงใจให้ใคร แค่หาผลประโยชน์เข้าตัวแค่นั้นแหละ
  • สรุปว่าคุณเป็นพวกใครกันแน่มัวแต่ทำตัวเป็นนกมีหู หนูมีปีก พอฝ่ายไหนมีประโยชน์ที่จะทำให้คุณถึงจุดหมายที่ต้องการก็ไปเข้าพวกกับฝ่ายนั้น ระวังคุณจะไม่ได้อะไรเลย
  • คนประเภทนกมีหู หนูมีปีก อย่าไปคบ พวกมันหวังจากเราแค่ผลประโยชน์ นอกจากนั้นไม่มีอะไรจริงใจเลย อยู่ให้ห่าง
  • โชคร้ายจริงๆ ดันได้แฟนเป็นคนนกมีหู หนูมีปีก คุยกับคนโน้นที คนนี้ที ไม่มีความจริงใจเลย แย่มากๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube