สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ น. นอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย
ที่มาของสำนวน การเปรียบเหมือนการนอนคว่ำหน้า หัวหน้าและผู้จัดการ ก็จะมองเห็นลูกน้องในสังกัดว่ามีความเป็นอยู่และปฏิบัติงานเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าไม่ได้ใส่ใจเลย ก็จะทำให้ลูกน้องที่ทำงานอยู่เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อองค์กร หรือมององค์กรไปในทางที่ติดลบ
อยู่ต่ำให้นอนหงาย ก็จะเป็นในทางตรงกันข้ามจากคำที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ ถ้ามองภายในองค์กรหรือบริษัท ก็คือพนักงานในระดับล่างที่ต้องทำงานในหน้างาน จะต้องมีหน้าที่หรือมีพฤติกรรมทำงาน โดยการที่จะต้องเรียนรู้กระบวนการทำงานให้มากขึ้นกว่าที่ทำอยู่ ซึ่งจะต้องดูผู้ปฏิบัติงานรุ่นพี่ๆ ที่ทำงานได้ดี และต้องเรียนรู้ตามพนักงานที่มีระดับสูงกว่า เพื่อที่จะได้ทำงานที่รับผิดชอบให้ประสบความสำเร็จได้นั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่เป็นผู้นำหรือผู้ปกครองอย่าหลงลืมตน ควรก้มมองดูลูกน้องหรือคนที่ต่ำต้อยกว่าว่าเขาเป็นอย่างไร เอาใจใส่ดูแล ฟังเสียงเขาบ้าง ส่วนคนที่เป็นลูกน้องก็สมควรทำหน้าที่ให้เรียบร้อยไม่ให้มีข้อบกพร่อง ดูแบบอย่างจากเจ้านายเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย
- ถ้าต้องการจะก้าวจากนักขาย ไปเป็นผู้บริหารงานขาย ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง จะต้องวางแผนการขายเป็น จะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้า ต้องสามารถจูงใจเพื่อนร่วมงานได้ ต้องรู้จักสรุปบทเรียนในการขาย ถ้าเป็นหัวหน้าแผนกอยู่แล้ว ควรมองเห็นว่า ผู้จัดการฝ่าย เขาต้องมีคุณสมบัติอย่างไร อย่าเพียงแต่ทำงานไปวันๆ นอนต่ำให้นอนหงายไว้ ถ้าทำโดยไม่เงยหน้าขึ้นดูว่า คนที่อยู่สูงกว่าเรา เขาจะต้องทำหน้าที่อะไร ต้องบริหารงานบริหารคนอย่างไรบ้าง ที่ให้มองไปข้างบนก็เพื่อเรียนรู้ว่า หากตนเองจะก้าวไปสู่จุดนั้นบ้าง จะต้องทำอย่างไร ไม่ใช่มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ หนึ่ง โดยไม่รู้เหนือรู้ใต้ว่า ผู้บริหารนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
- นอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย!! วลีสองวลีนี้ ไม่ใช่หยาบโลน ต้องเข้าใจให้ดี ลักษณะเช่นนี้โบราณเขาเปรียบว่า คนที่อยู่สูงๆ ไม่ว่าศักดิ หรือตัวเองที่เป็นเจ้าคนนายคน อย่ในสถานะดีกว่าคนอื่น ให้มองลงมายังคนที่มีระดับต่ำกว่าบ้าง
- สุภาษิตโบราณที่ได้กล่าวไว้เพื่อเป็นการสอนคน ซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารและพนักงาน เพื่อให้เกิดความตระหนักในการทำงาน บางครั้งก็จะเป็นการเตือนสติพนักงานที่เป็นพนักงานระดับบริหารไม่ให้หลงประเด็นไป โดยเฉพาะการสอนโดยใช้สุภาษิต จะทำให้เกิดความจำ และนำไปใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ นี่แหละนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงงาย
- ที่ผมประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ได้เพราะยึดคำสอนของพ่อ ว่านอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย และยังคงปลูกฝังความคิดนี้ให้กับทุกคนในองค์กร ทำให้ทุกคนทำงานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
- คนที่อยู่ในตำแหน่งสูง คนเป็นผู้บริหาร คนที่มีเงินเดือนมาก ว่าเมื่ออยู่ดีกินดี มีเกียรติแล้ว อย่าหลงลืมตัวต้องรู้สึกนึกเห็นว่า คนที่อยู่ต่ำกว่าคือ คนที่เป็นลูกน้องเป็นผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง เขามีชีวิตความเป็นอยู่กันอย่างไร การทำงานเขาเดือดร้อนแค่ไหน จะได้มีโอกาสลงไปช่วยเขาได้ เพราะลูกน้องที่อยู่ข้างล่างนั่นเอง ที่เป็นฐานรองรับให้เรา ขึ้นมาอยู่ข้างบนเป็นผู้บริหารได้ ไม่มีลูกน้องก็ไม่มีฐานะ การเป็นผู้บริหารของเรา จะมองอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องลงไปสัมผัสแก้ไขปัญหาด้วย คนเป็นผู้นำนั้น จะต้องไม่แยกตัวออกจากความทุกข์สุขของลูกน้อง นี่เองคือสิ่งที่เรียกว่า นอนสูงให้นอนคว่ำ เพราะถ้านอนสูงแล้ว ยังมัวแต่นอนหงาย ก็จะไม่เห็นไม่รู้ว่าลูกน้อง เดือดเนื้อร้อนใจอะไร ผู้นำที่มีคลื่นความถี่ แตกต่างห่างไกลกับลูกน้อง อาจถูกเรียกว่า ผู้นำที่นั่งอยู่บนหัวคน จะเป็นผู้นำที่นั่งอยู่ในหัวใจคนไม่ได้