สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปากว่าตาขยิบ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปากว่าตาขยิบ
ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบเปรยถึงการแสดงกิริยาถ้าผู้พูดๆ ไปแล้วขยิบตาไปด้วย เรียกว่าปากว่าตาขยิบ ผู้ฟังจะต้องรู้ว่า ผู้พูดๆ อย่างหนึ่งแต่จะกระทำอีกอย่างหนึ่งซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่พูด ซึ่งเหมือนเป็นการนัดแนะเพื่อที่จะทำสิ่งที่ไม่ดี หรือจงใจที่จะบิดเบือนในสิ่งที่กำลังพูดนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่ง ปากกับใจไม่ตรงกัน มักใช้ในทำนองที่ไม่ดีเสียมากกว่า
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปากว่าตาขยิบ
- ผู้นำประเทศที่มักปากว่าตาขยิบ เพราะเป็นผู้ที่พูดอะไร มักถูกต้องตามทำนองคลองธรรมของเรื่องราว แต่จริงๆ แล้วรัฐบาลของท่านหรือพรรคของท่าน มักทำไปอีกอย่าง! เป็นการตรงกันข้ามเสมอ!
- ‘ปากว่าตาขยิบ’ เรารับไม่ได้ตรงไหน ถ้าสิ่งที่เขาบอกนั้นถูกต้อง เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วย ‘มาตรฐาน’ โดยเฉพาะมาตรฐานทางศีลธรรม ทำไมเธอไม่ทำแบบนี้ล่ะ ทำไมเธอไม่ทำแบบนั้นล่ะ ทำไมเธอเอาเงินไปใช้ฟุ่มเฟือยไม่เอาไปบริจาค ทำไมไม่เลิกเหล้าเลิกบุหรี่ ทำไมเธอไม่เป็นคนดี ทำไมเธอไม่อยู่ในศีลในธรรม
- ดูเจ้าหน้าที่คนนั้นสิปากก็ว่าตนเองเป็นคนซื่อสัตย์ทำงานตามหน้าที่ แต่พอมีคนเสนอให้สินบน เขาก็รับอย่างหน้าตาเฉย คนแบบนี้ปากว่าตาขยิบชัดๆ
- ณิชาเป็นพวกปากว่าตาขยิบนะเธอระวังไว้อยู่กลุ่มหนึ่งพูดอีกอย่าง อยู่อีกกลุ่มพูดอีกอย่างนึง แบบนี้คบไม่ได้จริงๆ
- บอกให้คนอื่นทำในแบบที่ตัวเองต้องการ แต่ตัวเองกลับไม่ได้ทำอะไร แบบนี้มันพวกปากว่าตาขยิบ ก่อนจะบอกคนอื่นคนเริ่มจากตัวเองก่อน จำไว้!