สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตักบาตรอย่าถามพระ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตักบาตรอย่าถามพระ
ที่มาของสำนวนนี้คือ พระสงฆ์สมัยโบราณจะถือพระธรรมะวินัยเคร่งครัดมาก ว่าอย่ายึดติดกับรสชาติ เขาเลยห้ามถาม จึงได้นำมาตั้งเป็นสุภาษิต ในหลักการตักบาตรตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว พระพุทธเจ้าท่านให้หลักบริสุทธิ์สาม เอาไว้ คือ
- ไม่เห็นการฆ่า
- ไม่ได้ยินการฆ่า
- ไม่ได้นึกรังเกียจว่า เขาฆ่ามาเพื่อเฉพาะเจาะจงเรา
ถ้าอย่างนี้ละก็รับประทานได้ไม่บาป ให้ถือบริสุทธิ์สามนะ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แล้วไม่นึกรังเกียจว่า เขาฆ่ามาเฉพาะเรา ตรงนี้เองเป็นที่มาของคำว่า ตักบาตรอย่าถามพระ เช่นว่า จะตักบาตรแล้วถาม พระคุณเจ้า พรุ่งนี้จะฉันแกงไก่ไหม เดี๋ยวโยมจะเชือดถวาย ถ้าอย่างนี้ล่ะไม่ได้ พระท่านรับไม่ได้เลย ถ้านึกรังเกียจว่า ฆ่ามาเฉพาะเจาะจงเนี่ยไม่ได้ แต่ถ้าเกิดเป็นเนื้อที่เค้าวางขายในตลาดอยู่แล้วเราไปซื้อมาประกอบอาหารอย่างนี้ไม่บาป ถ้าจะเปรียบเหมือนกับว่า ถ้าเป็นอีแร้งเห็นซาก แล้วเอาไปกินซากไม่บาป แต่ถ้าเกิดเป็นอีกา ไปจิกไปยุให้มันตีกันให้มันตาย แล้วตัวเองก็จะไปกินเนี่ย อย่างนี้บาป
วัตรปฏิบัติที่สำคัญประการหนึ่งของพระภิกษุก็คือ การออกบิณฑบาตด้วยความตั้งใจ เต็มใจออกไปโปรดสัตว์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีโอกาสได้ทำบุญกุศล และได้ใกล้ชิดกับศาสนา ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่อุบาสกอุบาสิกาจะต้อง “ถาม” พระภิกษุก่อนตักบาตรว่า ท่านเต็มใจจะรับอาหารของตนหรือไม่ หรือท่านต้องการอะไร
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การจะให้ของสิ่งใดแก่ผู้ที่เขาเต็มใจรับของสิ่งนั้นอยู่แล้ว ไม่ควรถามว่าอยากได้หรือไม่
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตักบาตรอย่าถามพระ
- สุชาติซื้อของมาฝากคุณตา แต่ทุกครั้งที่สุชาติจะให้ของฝากกับคุณตาเขามักถามเสมอว่า คุณตาจะเอาไหมสุชาติซื้อของมาฝาก คุณตาเลยตอบกลับไปว่าตักบาตรอย่าถามพระ
- ผู้จัดการอย่าตักบาตรถามพระเลยค่ะ จะจัดทริปไปเที่ยวญี่ปุ่นให้พนักงานทั้งที มีใครจะไม่อยากไปหล่ะคะ
- เวลาจะชวนใครกินอะไรไม่ต้องถามหรอก ชวนมาก่อนเลย แบบนี้เขาเรียกตักบาตรอย่าถามพระชัดๆ เลย
- ในวันคล้ายวันเกิดไม่ว่าใครก็อยากได้ของขวัญเซอร์ไพรสอยู่แล้ว คุณไม่น่าตักบาตรถามพระเลยนะ
- ตักบาตรอย่าถามพระ จะให้อะไรใครไม่ต้องไปหวังผลตอบแทนหรอก ให้ด้วยความเต็มใจ แล้วภูมิใจกับสิ่งที่ตัวเองทำก็พอ