สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สีซอให้ควายฟัง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสีซอให้ควายฟัง
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงคน เซ่อคนโง่ หรือคนที่ดูฉลาดแต่กลับไม่ฉลาด ดั่งควายตัวโตกลางทุ่งนาถึงจะมีคนไปสีซออันแสนไพเราะให้ฟัง แต่ควายก็ได้สนใจฟังไม่ผู้ที่สีซอก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากควายเลยเสียแรงและเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การสอนหรือแนะนำสิ่งต่างๆให้กับคนที่มีความรู้น้อย ปัญญาทึบ ไม่ว่าจะสอนกี่ครั้งก็ยังไม่เข้าใจหรือไม่ตั้งใจที่จะฟัง ไม่ยอมทำตาม หัวไม่เอาอะไรเลย ทำให้ผู้สอนนั้นเสียเวลาเปล่า
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสีซอให้ควายฟัง
- ครูแดงหนักใจกับเด็กกลุ่มนี้มากไม่สนใจที่ครูสอนเลย เวลาเรียนก็เล่นแต่โทรศัพท์มือถือ สอนเท่าไหร่ บอกเท่าไหร่ก็ไม่เคยจำ เหมือนสีซอให้ควายฟัง
- อย่าไปสีซอให้ควายฟังเลย ถ้าเขาไม่มีเหตุผลและยังไม่เปิดใจยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นพูดไปก็เปล่าประโยชน์
- เด็กชายเป็ด เอาการบ้านมาทำ ขณะที่คุณครูกำลังสอนในห้องเรียน ซึ่งเด็กชายเป็ดไม่ได้สนใจที่จะฟังคุณครูสอนเลย เหมือนกับสีซอให้ควายฟัง
- การพูดถึงคนที่ไม่ฉลาด คนโง่ สอนอะไร ก็ยากจะเข้าใจ หัวไม่เอาเลย อย่าไปสีซอให้ควายฟัง หรืออย่าไปสอนอะไรเลย สอนไปก็เสียเวลาเปล่า เพราะสมองไม่ดี โง่ เรียนรู้อะไรได้ช้ามาก เสียเวลา
- อย่าไปสอนคนที่ไม่พร้อมที่จะรับรู้ แม้ว่าเราจะหวังดีแค่ไหนก็ตาม เพราะจะทำให้เขาและเรารู้สึกแย่ เหมือนสีซอให้ควายฟัง และเหมือนยื่นข้าวให้กับคนที่อิ่มแล้ว