สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงแม้คนเราเป็นขี้ข้าทำงานเกี่ยวกับสิ่งไม่ค่อยสะอาดนัก ก็อย่าทำให้เสื้อผ้าเหม็นเหมือนงานที่ทำ ความเป็นคนยังไงก็ต้องรักษาค่าความเป็นคนที่ดี
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ คนที่ถึงแม้จะมีฐานะต่ำต้อย ยากจน ก็ต้องประพฤติตนไปในทางที่ดี รักษาความดีที่มีอยู่ อย่าประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย
เป็นสุภาษิตเก่าแก่ ที่สอนให้คนเราประพฤติชอบแต่ในทางที่ดีไม่ให้ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย แม้จะมีฐานะยากจน เป็นตนใช้หรือลูกจ้างเขาก็ตามแต่ ก็ต้องรักษาความดีความซื่อสัตว์ รวมทั้งความสะอาดกายไปในตัวด้วย อย่าปล่อยตัวเองให้ตกเป็นทาสของความชั่ว
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ
- ถึงแม้ผมจะเกิดมาจน แต่ผมไม่เคยขอใครกิน และให้เกียรติผู้อื่นอยู่เสมอ ถึงตัวจะเป็นขี้ข้า ผมก็ไม่ให้ผ้าเหม็นสาบ อย่างน้อยผมหางานสุจริต
- แม้จะเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน แต่หากทำความดี เป็นคนดี ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ ไม่ทำความชั่ว ให้ตัวเองต้องแปดเปื้อนสิ่งที่ไม่ดี ก็จะได้รับการชื่นชมในความดี
- คุณแม่มักจะคอยเตือนผมเสมอว่าตัวเป็นข้าอย่าให้ผ้าเหม็นสาบ ต่อให้เราจะยากจนสักเพียงไหน ก็ขอให้มีความซื่อสัตย์ อย่าให้ใครมาว่ากล่าวได้
- บางคนถือว่าตัวเองเกิดมาต่ำต้อย แต่ก็ไม่โทษโชคชะตา พยายามทำตัวเป็นคนดี ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ หมั่นทำความดี ไม่ทำเรื่องที่ทำให้ตัวเองต้องตกต่ำเหมือนชาติกำเนิด
- เศรษฐีแต่ละคนก็มาจากคนจนก่อนทั้งนั้น สร้างตัวสู้ชีวิตกันมา แต่เขาเหล่านั้นไม่เคยดูถูกตัวเอง ตัวเป็นขี้ข้า ผ้าก็ไม่เหม็นสาบ ค่อยๆ สร้างตัวจนประสบความสำเร็จในที่สุด
- ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ จนไม่เป็นไร เงินหาได้ เหมือนกับความดี ต้องค่อยๆ สร้างเหมือนเงิน สุดท้ายถ้ามีความดี เงินดีๆ ก็จะมาหาเอง