สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ส. สิบคนเข้าไม่เท่าหนึ่งคนออก
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยสิบคนเข้าไม่เท่าหนึ่งคนออก
ที่มาของสำนวน มาจากคนรับใช้ในสมัยก่อน หากคนรับใช้ซึ่งเป็นคนเก่าคนแก่ที่อยู่รับใช้มานานได้ออกไป แม้ว่าจะได้รับคนรับใช้ใหม่เข้ามาหลายคน ก็ยังไม่รู้ใจและรู้งานเท่ากับคนเก่าที่ออกไป
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มาทำงานใหม่ที่ยังด้อยประสบการณ์ ถึงแม้ว่าจะรับเข้ามาทำงานหลายคน แต่ก็ยังมีความสามารถเทียบเท่าคนเก่าเพียงคนเดียวที่ลาออกไปไม่ได้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตสิบคนเข้าไม่เท่าหนึ่งคนออก
- “สิบคนเข้าไม่เท่าหนึ่งคนออก สิบวาจาไม่เท่าหนึ่งการกระทำ”
- พนักงานที่อยู่ในบริษัทนี้มานาน เข้าใจระบบการทำงานและรู้ใจผู้จัดการเป็นอย่างดี เมื่อคนเก่าได้ลาออกไป แม้ว่าจะหาคนใหม่มาแล้วก็ตาม แต่ผู้จัดการก็ยังรู้สึกว่าการทำงานล่าช้า ไม่คล่องตัวเหมือนแต่ก่อน สิบคนเข้าไม่เท่าคนหนึ่งออกจริงๆ
- กว่าจะสอนงานให้พนักงานใหม่ ก็ต้องดูประสบการณ์อีกว่าทำไหวหรือเปล่า ผิดกับคนเก่ารู้ระบบดีทุกอย่าง อย่างที่เขาว่าจริงๆ สิบคนเข้าไม่เท่า
- สิบคนเข้าไม่เท่าหนึ่งคนออก ไม่ว่าคนใหม่จะเก่งแค่ไหน ถ้ายังทำงานไม่เป็น ไม่รู้จักสถานที่ดีก็ไม่สามารถแทนคนเก่าได้ เพราะประสบการณ์
- วิชิตเขาอยู่กับหัวหน้าคนนี้มานาน เป็นที่ไว้ใจของหัวหน้าให้ทำงานแทนหลายๆ ส่วน แต่หัวหน้าต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น ลูกน้องคนใหม่ก็ไม่สามารถแทนวิชิตได้เลย นี่แหละสิบคนเข้าไม่เท่าหนึ่งคนออก