สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ด. เด็กเลี้ยงแกะ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเด็กเลี้ยงแกะ
ที่มาของสำนวน มาจากนิทานอีสป โดย ณ หมู่บ้านชายป่า มีเด็กเลี้ยงแกะคนหนึ่งชอบพูดโกหกเป็นประจำ วันหนึ่งเกิดนึกสนุกอยากแกล้งชาวบ้านจึงร้องตะโกนว่า “ช่วยด้วย ๆ หมาป่ามันจะมากินแกะแล้ว” ชาวบ้านต่างพากันมาช่วย พอเด็กเลี้ยงแกะเห็นชาวบ้านวิ่งหน้าตาตื่นก็หัวเราะด้วยความชอบใจ แล้วชอบเล่นสนุปแบบนี้อีกหลายครั้ง ชาวบ้านก็พากันวิ่งหน้าตาตื่นมาช่วยเขาทุกครั้ง และพบว่าพวกเขาถูกหลอกอีกเช่นเคย จนวันหนึ่งหมาป่าก็มาจริง ๆ คราวนี้เด็กเลี้ยงแกะตะโกนให้คนมาช่วยสุดเสียง “ช่วยด้วย ๆ หมาป่ามันจะมากินแกะแล้ว” แต่ครั้งนี้กลับไม่มีชาวบ้านออกมาช่วยเด็กเลี้ยงแกะอีกแล้ว เพราะคิดว่าเขาคงจะโกหกอีก สุดท้ายเจ้าหมาป่าจึงกินแกะของเด็กเลี้ยงแกะไปทีละตัวๆ จนหมด นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่าคนที่ชอบโกหก แม้พูดควางจริงก็ไม่มีใครเชื่อ
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ชอบพูดปด พูดจาไม่มีเค้าความจริง หรือโกหกจนเป็นนิสัยจนไม่มีใครเชื่อหรือให้ความสนใจกับคำพูดนั้นๆ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเด็กเลี้ยงแกะ
- สิ่งที่เขาทำนั่นมันเด็กเลี้ยงแกะชัดๆ มาบอกว่าเป็นลูกครึ่ง พูดได้หลายภาษาแต่จริงๆแล้ว เขาก็เป็นคนไทย มีพ่อแม่เป็นคนไทย
- การทำตัวเองเป็น เด็กเลี้ยงแกะ ไม่ใช่เรื่องดี เพราะการพูดโกหกบ่อยๆ จนคนอื่นมองว่าเราเป็นคนที่ชอบโกหก ก็จะไม่มีใครเชื่อถือ พูดอะไรออกไปก็จะไม่มีใครสนใจ ด้วยคิดว่าเรากำลังพูดโกหก
- เพื่อนๆ ต่างก็ไม่มีใครอยากคบกับเธอ เพราะเธอชอบสร้างเรื่องโกหก ชอบเรียกร้องความสนใจ เป็นเด็กเลี้ยงแกะเสียจนติดเป็นนิสัย
- รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงการนอน ชอบพูดจาในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง คนจึงให้สมญานามว่ารัฐมนตรีไวท์ไล หรือ รัฐมนตรีเด็กเลี้ยงแกะ
- ที่ไม่มีใครยอมช่วยนาย ก็เพราะนายชอบพูดเล่นพูดโกหกจนเหมือน เด็กเลี้ยงแกะ นั่นแหละ