สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ม. มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
ที่มาของสำนวน คำว่า “รา” ในที่นี้ แปลว่า ทำให้น้อยลง อ่อนลง หมดไปอย่างช้าๆ “มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ” เปรียบเปรยถึงผู้ที่ลงเรือลำเดียวกับคนอื่นแล้วไม่ยอมช่วยพายเรือ แต่ยังเอาขาจุ่มลงไปในน้ำ ยิ่งจะทำให้คนพายอื่นๆ ต้องใช้ลำบากมากยิ่งขึ้น
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ไม่ช่วยหลืองานส่วนรวม ไม่ให้ความร่วมมือ แล้วยังทำตัวเกะกะ ขัดขวางการทำงานของผู้อื่น จนทำให้การทำงานนั้นยากขึ้นไปอีก
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
- ครูมอบหมายให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันทำรายงาน ในกลุ่มของสมศรีมีเพื่อนคนนึงไม่ยอมช่วยงานกลุ่มเลย แล้วยังมาชวนเพื่อนที่ทำงานอยู่นั้นพูดคุยอีก ทำให้งานเสร็จช้า ตรงกับสำนวนไทยที่ว่ามือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
- ถ้าคุณไม่เห็นด้วย ไม่คิดจะช่วยงานนี้ ก็อยู่เฉยๆเสียดีกว่า อย่าทำเป็นพวกมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หาเรื่องทำให้งานมันยากขึ้นไปอีกเลย
- พวกที่คิดในแง่ร้้าย พวกมือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ ของฝ่ายการเมือง นักการเมือง กลุ่มเคลื่อนไหวการเมือง พวกโซเชียลที่ใช้เวลาว่าง มุ่งโจมตีคนทำงานจริงๆ
- นักวิชาการกลุ่มนี้ที่ดีแต่พูดดีแต่วิจารณ์ ไม่เคยลงมือปฏิบัติหรือช่วยเหลือชาติบ้านเมืองอะไรเลย วันๆ ดีแต่ออกมาพ่นน้ำลายทำลายกัน เหมือนคำสุภาษิตที่ว่ามือไม่พายแต่ชอบเอาเท้าราน้ำ เกิดมาทั้งทีก็ไร้ประโยชน์ ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับตัวเองและแผ่นดินเลยสักนิด ช่างเสียดายคุณค่าและเวลาที่เกิดมาในชาตินี้
- สมชายถ้าเอ็งไม่ช่วยเหลือเพื่อนทำงานก็อยู่นิ่งๆ ไม่ใช่มากวนประสาทคนกำลังทำงาน มือไม่พายยังเอาเท้าราน้ำอีก แยกเวลาเล่นกับเวลาทำงานให้ออกหน่อย