สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. ปล่อยนกปล่อยกา
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยปล่อยนกปล่อยกา
ที่มาของสำนวน เป็นสำนวนที่เปรียบเปรยถึงการปล่อยนกปล่อยกา ที่อยู่ภายในกรง ให้เป็นอิสระ ปล่อยไปตามวิถีธรรมชาติของมัน
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การปล่อยให้เป็นอิสระ ไม่เอาผิด ไม่เอาความอีกต่อไป ปล่อยให้พ้นจากความผูกพัน
นิยมใช้เกี่ยวกับการปล่อยวาง ปล่อยคนที่ไม่ถูกชะตา ไม่ผูกใจคิด เลิกแล้วต่อกัน
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตปล่อยนกปล่อยกา
- ปล่อยลูกนกลูกกาไปเถอะ สงสารเขาถือซะว่าทำบุญ เขาคงไม่ตั้งใจจะขโมยกระเป๋าของคุณ น่าจะมีเหตุจำเป็นจริงๆ
- การทำบุญตามความเชื่อของคนไทยอย่างหนึ่งก็คือการปล่อยนกปล่อยกาให้เป็นอิสระ เป็นความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนาน เชื่อว่าหลังจากปล่อยไปแล้ว ชีวิตจะมีอิสระ ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น
- คุณจะสงสาร ปล่อยลูกนกลูกกาอย่างผมไปไม่ได้หรือ แค่นี้ผมก็โดนประณามจนไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหนแล้ว
- สมชายกับสมนึกได้ตกลงทำร้านขายเสื้อผ้าด้วยกัน ซึ่งสมนึกจะเป็นผู้ดูแลเพราะสมชายทำงานประจำอยู่ ช่วงแรกๆ ก็ได้กำไรดี แต่หลังๆ กลับขาดทุน ทั้งๆ ที่สินค้าก็ขายได้ ต่อมาสมชายจับได้ว่าสมนึกโกงเงิน แต่ไม่อยากผิดใจกันจึงเลิกทำกิจการไป เพราะเห็นแก่ความเป็นเพื่อนครั้งสุดท้าย คิดเสียว่าปล่อยนกปล่อยกา
- ผมว่าลงการโทษวิชิต และเขาก็ได้ชดใช้ในสิ่งที่เขาได้ทำลงไปเรียบร้อยแล้วเราก็ควรที่จะปล่อยนกปล่อยกาให้เขาได้มีโอกาสในการกลับตัวชีวิตให้อยู่ในสังคมปกติ