สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ค. คนตายขายคนเป็น
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยคนตายขายคนเป็น
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยคนที่ตายไปแล้ว แต่กลับทิ้งภาระให้กับคนที่ยังอยู่ โดยในสำนวนนี้ใช้คำว่าขายเพื่อสื่อถึงความหดหู่
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ตายไปแล้ว แต่มีภาระหนี้สินมากทำให้ญาติพี่น้องหรือคนรอบข้างที่เกี่ยวข้อง ต้องเดือดร้อน รับผิดชอบชดใช้หนี้สินแทน บางครั้งนอกจากเรื่องเงินทองแล้ว ยังใช้เปรียบเปรยกับเรื่องภาระด้านอื่นๆ อาทิ การทุ่มจัดงานศพใหญ่โตแม้ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา เพื่อรักษาหน้าของตัวเอง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตคนตายขายคนเป็น
- คนตายขายคนเป็นหมายถึง เวลาบ้านไหนมีคนตาย ลูกหลานจัดงานพิธีศพเอิกเกริก ใช้เงินมากมาย… บางบ้านไม่มีเงินก็ต้องไปกู้เงินมาจัดงาน เกิดหนี้สินมากมายเป็นภาระผูกพัน… โบราณท่านจึงสอนให้ทำแต่พอดี อย่าให้เป็นหนี้สินมากมาย จนทำให้คนข้างหลังลำบากต้องคอยตามใช้หนี้ ที่สร้างเพื่อคนตาย
- น่าเห็นใจครอบครัวนี้จริงๆ ผู้ตายเป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จึงต้องจัดงานศพให้ใหญ่โตทั้งๆที่มีหนี้สินอยู่เป็นจำนวนมาก เข้าข่ายคนตายขายคนเป็นแท้ๆเชียว
- นายณัฐวุฒิเป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้กู้เงินธนาคารมาเพื่อสร้างบ้านขาย แต่ปรากฏว่าโครงการเพิ่งเริ่มก่อสร้างได้ไม่นานนายณัฐวุฒิก็ถูกนายเหวงซึ่งป็นคู่อริยิงตาย ทำให้ภรรยาต้องรับภาระแบบหนี้สินก้อนนั้นแทน นี่แหละคนตายขายคนเป็นแท้ๆ
- เพื่อไม่ให้ลูกหลานลำบาก เข้าข่าย คนตายขายคนเป็น เมื่อตัวเองได้เสียชีวิตไปแล้ว บางคนนั้นจะทำประกันชีวิตเอาไว้เพื่อเป็นค่าใช้ จ่ายในการจัดการกับงานศพของตัวเอง ซึ่งมีรายจ่ายหลักแสนบาทเลยทีเดียว ไม่เช่นนั้นจะสร้างความเดือดร้อนให้ลูกหลานอย่างมาก หากตายตามปกติ ไม่ได้เจ็บป่วย เป็นโรคร้ายแรง รายจ่ายจะไม่มากนัก แต่หากเจ็บป่วยต้องรักษาบางคนนั้นมีรายจ่ายเกินล้านบาทเลย ทีเดียว
- น่าสงสารครอบครัวสมชายเสียจริง ตาที่มีทรัพย์สินมากมายกลับมาด่วนจากไป ทิ้งแต่ภาระหนี้สินให้ ทรัพย์สินก็ขายไม่ได้อีก ซวยซ้ำซวยซ้อน