สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ด. เด็กอมมือ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเด็กอมมือ
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยถึงทารกหรือเด็กมักจะชอบดูดนิ้วหรืออมนิ้วมือนั้นส่วนใหญ่เป็นเพราะว่า เด็กๆ รู้สึกเบื่อหรือต้องการความสะดวกสบายอะไรบางอย่าง จึงเอานิ้วมือของตัวเองมาดูด เนื่องจากสิ่งนี้จะทำให้เด็กๆ รู้สึกสนุกสนานในแบบของทารกเองและจินตนาการไปในแบบของตัวเอง
สำนวนนี้ยังปรากฏในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 เรื่องสังข์ทอง “เป็นกษัตริย์ตรัสแล้วไม่แม่นยำ กลับถ้อยคืนคำทำขายหน้า เหมือนไม้หลักปักเลนเอนไปมา ยิ่งกว่าลูกเล็กเด็กอมมือ” จึงอุปมาอุปไมยถึงคนที่ยังเด็ก ไม่รู้อะไรมามาก ผ่านโลกมาน้อยนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ไม่รู้ประสีประสา ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ไม่มีประสบการณ์ ยังอ่อนต่อโลก
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเด็กอมมือ
- โธ่ ไอ้หนู เป็นคนเด็กอมมือ ผ่านโลกมาน้อย อย่ามาปีนเกลียดกับผู้ใหญ่ โลกใบนี้ไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด
- คุณทำงานมาจนป่านนี้มีตำแหน่งเป็นหัวหน้า ทำไมถึงได้ทำตัวเหมือนเด็กอมมือ ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ไร้ฝีมือ ไร้ประสิทธิภาพในการทำงานอย่างนี้
- ไม่มีใครชอบผู้ใหญ่นิสัยเด็กอมมือหรอก คนไม่รู้จักโต มักเป็นภาระของคนอื่น หาวิธีสร้างชีวิตของตัวเองซะเถอะ ก่อนจะสายเกินไป
- โตจนป่านนี้ทำไมถึงได้ทำตัวเป็นเด็กอมมือไม่ประสีประสา ไปเชื่อคนที่เพิ่งรู้จักกันทางอินเตอร์เน็ต ไม่คิดบ้างหรือว่าจะมีอันตรายมาถึงตัว
- นี่น้องคิดจะมีแฟน เลี้ยงตัวเองให้สบายได้ยังอ่ะ ทำตัวเป็นเด็กอมมือแบบนี้ ไม่มีใครเอาหรอก ถึงเขาเอาอยู่แปปเดียวเขาก็ไป ไปสร้างเนื้อสร้างตัว เลี้ยงตัวเองก่อน เดี๋ยวแฟนดีๆ ก็จะมาเอง