สุภาษิตคำพังเพยบ่างช่างยุ ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยบ่างช่างยุ

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ บ. บ่างช่างยุ

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยบ่างช่างยุ

ที่มาของสำนวน มารู้จักกับ “บ่าง” เป็นสัตว์ฺที่มีเสียงร้องคล้ายคนร้องไห้ ทั้งมีหน้าตาคล้ายลิงลม คนโบราณจึงมองว่าเป็นสัตว์ที่พิลึกและน่ากลัว คนที่เข้าป่าในอดีตและวได้พบเจอหรือได้ยินเสียงร้องของบ่างจึงมักคิดว่าเป็น “ผีป่า”

ส่วนสำนวนไทยสมัยโบราณที่ว่า “บ่างช่างยุ” นั้นมีที่มาจากนิทานสุภาษิตเรื่องหนึ่ง เล่าถึงตัว “บ่าง” ที่อาศัยอยู่ในป่าและเป็นเพื่อนกับ “ค้างคาว” ทั้งคู่กินผลไม้เป็นอาหารเช่นเดียวกัน แต่บ่างเสียเปรียบค้างคาวในเชิงสรีระร่างกาย เพราะไม่มีปีกบินทำให้เคลื่อนที่ไปหาผลไม้ได้ช้ากว่า บ่างจึงเกิดความคิดริษยาและไม่อยากอยู่ร่วมกับค้างคาว แล้วเริ่มหาวิธีทำให้ค้างคาวไปเสียจากป่านั้น

นอกจากเป็นเพื่อนกับบ่างแล้ว ค้างคาวยังเป็นเพื่อนกับ “นก” และ “หนู” ด้วยเหตุผลที่ว่าค้างคาวนั้นบินได้เหมือนนกและมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับหนู จึงนับถือกันเป็นมิตรสหายด้วย โดยนกกับหนูทำรังอยู่ร่วมกันบนต้นไม้ใหญ่ ค้างคาวมักจะแวะเวียนมาหาทั้งคู่อยู่เสมอ ขณะที่บ่างไม่ได้รับอภิสิทธิ์นั้น เพียงแต่ดูอยู่ห่าง ๆ

แผนการของบ่างในการกำจัดค้างคาวจากการเป็นคู่แข่งหากินของตนจึงเริ่มต้นจากการทำให้ค้างคาวแตกคอกับนกและหนูเสีย บ่างไปหานกกับหนูพร้อมเล่าว่าค้างคาวนั้นเป็นสัตว์ร้าย จะนำโรคภัยมาสู่ทั้งสองได้ เพราะขี้ค้างคาวมีกลิ่นแรง นกกับหนูได้ฟังดังนั้นก็เกิดหวาดกลัวค้างคาวขึ้นมา จึงพากันขับไล่ค้างคาวไม่ให้มาข้องแวะหรืออยู่ร่วมต้นไม้กับพวกตน ค้างคาวจึงต้องจากป่านั้นไป

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน หรือชอบพูดจายุแยงตะแคงรั่ว ใส่ความให้คนอื่นเขาทะเลาะเบาะแว้งกัน อยู่ทางนี้ก็ว่าทางนี้ดี และทางโน้นกล่าวว่าทางนี้ไม่ดี พอไปอยู่ทางนั้นก็ว่าทางนั้นดี และ กล่าวหาทางนี้ว่าทางนั้นไม่ดี ทำให้แตกแยกกัน

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยบ่างช่างยุ

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตบ่างช่างยุ

  • เธอจะไปเชื่อบ่างช่างยุพวกนั้นทำไม ก็รู้อยู่แล้วว่าเขาจ้องจะทำร้ายฉัน ก็คงจะพูดเพื่อทำให้เราทะเลาะกันนั่นแหละ
  • สามีภรรยาคู่นี้เดิมทีก็รักใคร่กลมเกลียวกันดี แต่มีบุคคลที่สามเข้ามาเป็นบ่างช่างยุ ทำให้ระหองระแหงกันแทบทุกวัน
  • บ่างช่างยุนิยมใช้กับคนที่นิสัยไม่ดี ชอบพูดจายุแยงให้คนอื่นเขาแตกคอกัน ตีกัน หรือผิดใจกัน โดยหวังเพียงแค่ให้ตนเองดูมีความสำคัญหรือเพื่อความพอใจของตน โดยไม่ได้สนใจผลเสียจากการแตกคอของคนอื่น
  • ส่วนหนึ่งของความแตกแยกไม่ว่าจะในระดับบุคคล หรือระดับสังคม มักจะขาดไม่ได้กับตัวประกอบสำคัญบ่างช่างยุ ในระดับสังคมมีคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าสื่อ
  • ตอนนี้ในองค์กรของเรากำลังวุ่นวาย เพราะมีบ่างช่างยุอยู่ ทำให้คนในองค์กรทะเลาะกัน ไม่สามัคคีกัน

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube