สุภาษิตคำพังเพยฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง ความหมาย, รูป, ตัวอย่าง

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง

สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. ฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง

ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง

ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยฆ้อง คือเครื่องตีให้เกิดเสียงทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีขอบงองุ้มลงมาโดยรอบ เรียกว่า ใบฉัตร ตรงกลางมีปุ่มกลมสำหรับตี มีหลายชนิดทั้งแบบแขวนทางตั้ง และทางนอน การที่ฆ้องไม่ดีตีอย่างไรก็ไม่กระหึ่ม เสียงอึบอึมแตกพร่ามิน่าฉงน คนไทยนิยมเปรียบฆ้องกับคนเพราะฆ้องอยู่ในวัด และคนไทยเรา 90% เป็นชาวพุทธ ย่อมอยู่กลมกลืนกับวัดกับพระพุทธศาสนา

สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนเลว คนไม่ดี แม้จะช่วยเหลือเกือหนุนอย่างไรก็ไม่สามารถดีขึ้นได้

รูปความหมายของสุภาษิตคำพังเพยฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง

ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง

  • อย่าไม่ยุ่งกับคนที่ไม่ดี มันก็เหมือนฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง คนพวกนี้ไม่เคยทำให้เราชีวิตดีขึ้น และมีแต่ฉุดรั้ง และดึงพลังงานดีๆ ของเรา
  • ฆ้องกลองไม่ดีย่อมดีไม่ดังจริงๆ คุณสมชายสนับสนุนให้เด็กคนนี้มีโอกาสที่ดี มีอนาคตที่ดี แต่แล้วเด็กคนนี้ก็ทำให้ผิดหวัง
  • คนไม่ดีย่อมไม่มีใครอยากช่วยเหลือ เพราะคนพวกนี้ไม่มีความเคารพในตัวเอง เป็นบัวใต้ตม ฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง โลกนี้ยุติธรรมกับคนดีเสมอ จำไว้
  • เธอช่วยเขามาตั้งกี่ครั้งแล้ว ทั้งช่วยเหลือเรื่องเงิน ช่วยเหลือเรื่องงาน ฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดัง สุดท้ายเขาก็กลับมาเป็นแบบเดิม
  • ผมหมดปัญญาจะช่วยเหลือเพื่อนคนนี้แล้วจริงๆ ให้ยืมเงิน ให้งานทำ ให้สิ่งดีไม่เคยเอา มุ่งแต่ทางไม่ดี ติดพนันหนัก ช่วยยังไงก็ไม่ดีขึ้น ผมเข็ดแล้ว เข้าใจคนสมัยก่อนเลยว่าฆ้องกลองไม่ดีย่อมตีไม่ดังจริงๆ

สำนวนสุภาษิตอื่นๆ

Thai Proverb Youtube