สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฆ. ฆ้องปากแตก
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฆ้องปากแตก
ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบกับฆ้องที่ยังคงมีสภาพดี ปากฆ้องยังดี ไม่แตก เวลาตีฆ้อง เสียงก็จะความไพเราะ ดังกังวาน น่าฟังแตกต่างฆ้องที่ปากแตกแล้ว เสียงไม่ดี ก็เหมือนคนปากไม่ดี เก็บความลับไม่อยู่ ไม่ต่างอะไรกับ ฆ้องปากแตก เที่ยวโพนทะนาความลับคนอื่นไปทั่ว ฆ้องปากแตก เสียงย่อมฟังดูแปร่งประหลาดหูนั่นเอง
ความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ คนที่มีนิสัยปากโป้ง เก็บความลับสำคัญๆ เอาไว้ไม่ได้ พอไปรู้ความลับอะไรมาก็จะรู้สึกคันปากยิบๆ ที่จะเผยความลับให้คนอื่นได้รับรู้ ถ้าให้ได้รู้เรื่องอะไรหรือความลับของใคร ก็ได้รู้กันทั้งบางแน่นอน ศัพท์สมัยนี้นิยมเรียกกันว่าหอกระจายเสียงประจำหมู่บ้าน
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฆ้องปากแตก
- มีเรื่องอะไรอย่าไปเผลอเล่าให้หล่อนฟังนะ เพราะหล่อนเป็นพวกฆ้องปากแตก วันๆไม่ทำอะไร เอาแต่พูดนินทาเรื่องชาวบ้าน
- หอกระจายเสียงเคลื่อนที่นั่นเอง ดังนั้นถ้าเจอคนประเภทนี้อย่าบอกอะไรที่เป็นความลับเป็นอันขาด เพราะไม่เพียงจะเอาเรื่องคนอื่นมาเล่าให้เราฟัง ความลับของเราเองก็คงไม่รอดปากเหยี่ยวปากกาไปได้
- หากรู้ว่าตัวเองเป็นคนประเภทฆ้องปากแตก เก็บความลับไม่อยู่ ก็อย่าไปรับฟังความลับของใคร เพราะรู้แล้วมักจะเกิดอาการคันปาก ทนไม่ได้ ต้องเอาไปเล่าให้คนอื่นฟัง ประเดี๋ยวจะกลายเป็นว่า โดนต่อยปากแตกแทน
- เจ้านายเริ่มไม่ไว้ใจคนที่เป็นฆ้องปากแตกเช่นเขา เพราะเขาเก็บความลับไม่อยู่กลัวว่าซักวันหนึ่งความลับของบริษัทจะไปเข้าหูฝ่ายตรงข้ามที่เป็นคู่แข่ง
- ชาวบ้านก็รู้ดีว่าสมศรีเป็นคนปากสว่าง เป็นคนฆ้องปากแตก ชอบเอาเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปเล่าให้คนในหมู่บ้านฟังเป็นประจำ