สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ป. เป็นคนอย่าให้เขาสนสะพาย
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเป็นคนอย่าให้เขาสนสะพาย
ที่มาของสำนวน วัวควายที่ถูกสนตะพายให้มนุษย์ลากจูงไปตามต้องการ ซึ่งใช้เป็นภาพเปรียบเทียบลักษณะเหตุการณ์ที่คนคนหนึ่งถูกอีกคนชี้นำและบงการ แต่ภาพสัตว์ที่ถูกลากจูงไปนั้นแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและวัฒนธรรม ภาพของสัตว์ที่ถูกจูงจมูกในภาษาอื่น นอกจากวัวควายแล้วก็ยังมีม้า กระทิง และหมี (ในละครสัตว์)
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ เกิดเป็นคนควรมีความคิดเป็นของตนเอง อย่ายอมให้ใครมาชักจูง หรือหลอกได้ง่ายๆ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเป็นคนอย่าให้เขาสนสะพาย
- คนอย่างผมมีจุดยืนชัดเจนในทางของผม เกิดเป็นคนอย่าให้เขาสนสะพาย เหมือนวัวเหมือนควาย ศักดิ์ศรีลูกผู้ชายมันสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด
- เธอก็โตแล้วมีความคิดเป็นของตัวเอง จงมั่นใจทำในสิ่งที่ถูกต้องอย่าให้คนอื่นมาปลูกฝังความเชื่อผิดๆ ถูกชักจูงได้ง่ายๆ เป็นคนอย่าให้เขาสนสะพาย
- การจะทำธุรกิจต้องทำในสายที่ตัวเองถนัด สิ่งที่ตัวเอง ชอบไม่ตามกระแส เป็นคนอย่าให้เขาสนสะพาย ต้องมีจุดยืนของตัวเอง
- ตาสว่างเสียทีเถอะเป็นคนอย่าให้เขาสนสะพาย คนอื่นเขาก็รู้กันหมดแล้วว่าคนพวกนั้นใช้เราเป็นเครื่องมือสร้างสถานการณ์ให้พวกเราทะเลาะกันเอง
- อยากประสบความสำเร็จต้องสร้างเส้นทางของตนเอง มีเป้าหมายชีวิต ไม่คาดหวังอะไรจากใคร เป็นคนอย่าให้เขาสนสะพาย เคารพตัวเองอันดับแรก แล้วจะประสบความสำเร็จในไปไม้ช้า