สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กาหลงรัง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยกาหลงรัง
ที่มาของสำนวน ธรรมชาติของนกกานั้น กระจายพันธุ์เป็นวงกว้างในเอเชีย ปรับตัวได้เก่ง สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ทำให้ขยายไปยังพื้นที่ใหม่ได้ง่าย การหลงรัง หรือทิ้งรังนั้น เพื่อการหาแหล่งอาหารใหม่ๆ เพื่อเอาชีวิตรอด
สรุปความของสำนวนหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกาหลงรัง
- ลุงวิชัยแกเป็นกาหลงรังมานานแล้ว ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง แกมีความสุขที่ไหนก็จะไปอยู่ที่นั่น ถึงจะเร่ร่อน แต่ก็ทำการทำงาน ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
- มานะเป็นเด็กต่างจังหวัดเพิ่งได้เข้ามาเปิดหูเปิดตาในกรุงเทพเป็นครั้งแรก ก็เกิดหลงไหลแสงสีเมืองกรุง เที่ยวเล่นไปเรื่อย ทำตัวเป็นกาหลงรังไม่ยอมกลับบ้าน
- ชีวิตคนเราก็เปรียบกับอีกาหลงรัง ต้องหาทางดิ้นรนสู้ชีวิตไปเรื่อยๆ แม้จะเหนื่อย จะยาก แต่นี่คือชีวิตของเรา เหมือนกับกาที่ต้องปรับตัว
- แม้นชีวิตของข้าพเจ้าเปรียบดั่งกาหลงรัง ข้าพเจ้าไม่เคยเสียใจที่ได้ใช้ชีวิตในแบบที่ข้าพเจ้าต้องการเลย แม้คนอื่นจะมองข้าพเจ้าแบบไหน มันก็ไม่มีผลต่อข้าพเจ้าอยู่ดี ชีวิตของข้าพเจ้าเลือกเอง
- คนรวยบางคนก็ทำตัวแบบกาหลงรัง ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง เอาไปลงทุนให้งอกเงย ยอมอยู่แบบเรียบง่าย ไม่อู้ฟู่ สุดท้ายเงินก้อนนั้นก็กลับมาตอบแทนในที่สุด