สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน
ที่มาของสำนวน เปรียบถึงคนที่ไปใช้วาจา หรือความประพฤติไม่ดี ใส่อีกคนกลางศาลา ต่อหน้าผู้คนมากมายจนต้องอับอายผู้คนไปทั่ว แต่เวลาผู้นั้นสำนึกผิด กลับมาขอโทษที่บ้าน ไม่ได้ขอโทษต่อหน้าผู้คน หรือไม่ให้ผู้อื่นรับรู้ในการขอโทษของตน สำนวนนี้ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ทําไว้
นิยมใช้กับคนปากแข็ง ไม่ยอมรับผิดหรือไม่ยอมขอโทษในความผิดของตน แต่สุดท้ายเมื่อต้องยอมรับก็แอบทำหรือทำไม่ให้คนอื่นรับรู้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน
- นายสมชาย ตบหัวนายตู่ กลางตลาด มีผู้คนเห็นมากมาย นายตู่ไม่ตอบโต้อะไร สุดท้ายนายสมชายสำนึกผิด แอบไปขอโทษที่บ้านนายตู่ ซึ่งนายตู่ไม่ยอม พร้อมบอกว่าอย่ามาตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน ถ้าจะขอโทษ ต้องขอโทษที่กลางตลาด
- เธอยอมได้อย่างไรแบบนี้มันตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้านชัดๆ ก่อนหน้านี้เขาประจานเธอออกสื่อเสียๆหายๆ แต่พอรู้ว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิดกันเขากลับส่งข้อความมาขอโทษ มันไม่สมกับเรื่องที่ทำไว้เลยนะ
- นักการเมืองผู้หนึ่งได้ปราศรัยลบหลู่ดูศาสนา ต่อมาได้สำนึกผิด และ ได้ทำพิธีขอขมา ที่ซึ่งมีผู้รู้ผู้เห็นไม่มากมายเท่าที่ควร การกระทำเยี่ยงนี้คล้ายๆ กับว่าตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน
- การ ตบหัวกลางศาลาขอขมาที่บ้าน หรือทำให้ใครสักคนต้องได้รับความเจ็บปวด ทั้งกายและใจต่อหน้าคนอื่น ต่อหน้าผู้คน ก็ควรจะ ขอโทษต่อหน้าสาธารณชน ไม่ใช่แอบไปขอโทษที่บ้าน สำหรับคนที่ได้รับผลจากการกระทำจึงอาจจะไม่ยอมรับการขอโทษ
- การยอมรับผิดไปก็แค่นั้น มันไม่สมกับความผิดที่นายได้ทำไว้เหมือนคำกล่าว ตบหัวกลางศาลา