สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ด. เดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ
ที่มาของสำนวน มาจากการหว่านกล้าเดือนหกก็เพื่อให้ต้นข้าวได้ทันกับฝนที่ตกตามฤดูกาล โดยต้องเตรียมไถไว้ก่อนนั่นก็คือเดือนห้า จากที่กล่าวมาถือว่าเป็นการเตรียมตัวในการทำงาน รู้จักจังหวะในการทำงาน
สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การทำอะไรให้รู้จักกาลเทศะ มีการวางแผนการทำงาน รู้ว่าควรจะทำอะไรเวลาไหน
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ
- ที่เขาประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้ เพราะคุณพ่อของเขาสอนและปลูกฝังให้เขารู้จักการวางแผนชีวิต วางแผนการทำงานตั้งแต่เด็กๆ ดังสำนวนสุภาษิตที่ว่าเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ
- ตาดำสอนเจ้าแดงหลานรักเสมอว่า จะทำอะไรก็ต้องรู้จักวางแผน และทำให้ถูกจังหวะ ดังสำนวนสุภาษิตที่ว่าเดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ
- Month Idioms สำนวนที่เกี่ยวข้องกับเดือน ภาษาไทยมีสำนวนที่ว่า “เดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ” ซึ่งหมายความว่า ควรทำในสิ่งที่ถูกต้องตามกาลเทศะหรือเวลาที่เหมาะสม ภาษาอังกฤษก็มีสำนวนที่เกี่ยวข้องกับเดือนเช่นกัน
- ดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ สิ่งนี้เป็นตัวสะท้อนความสำคัญของการวางแผนได้อย่างดี แต่บ่อยครั้งเรากลับละเลยที่จะจัดสรรและวางแผนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการเงิน หลายๆ ครั้งได้พบเจอนักลงทุนที่ใส่เงินทุกบาทของตัวเองไว้ในหุ้น/กองทุนหุ้น โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงข้อจำกัดของตัวเองเลย ทำให้อาจเกิดเหตุการณ์ที่ต้องขายหุ้นเพื่อเอาเงินออกมาใช้ แม้ว่าจะต้องขายขาดทุนก็ตาม
- การจะทำธุรกิจต้องวางแผน เหมือนการทำนานั่นแหละ เดือนหกให้หว้่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ เตรียมตัว เตรียมใจ พร้อมรับมือปัญหาอยู่เสมอ