สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ฝ. ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยฝนตกไม่ทั่วฟ้า
ที่มาของสำนวน สำนวนดังกล่าวน่าจะมีที่มาจากการที่มีฝนตกที่บางสถานที่ แต่ห่างไปเพียงไม่กี่ร้อยเมตรกลับไม่มีฝนตกเลย นั่นทำให้เกิดความประหลาดใจ และมีการยกเอามาเป็นสำนวนไทยนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การให้ความช่วยเหลือที่ไม่ทั่วถึงกัน ซึ่งบางครั้งก็เป็นเรื่องยาก เพราะผู้คนก็มีมาก อย่างเวลาที่เกิดปัญหาบางอย่าง ภัยธรรมชาติ หรือเหตุร้ายต่างๆ แต่บางทีการช่วยเหลือนั้นก็มุ่ง ช่วยเหลือคนเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตฝนตกไม่ทั่วฟ้า
- การใช้ความช่วย เหลือคนจึงต้องช่วยคนดี เพราะคนมีโอกาสกระทำความดีต่อ เนื่องกันไป หรือให้ความช่วยเหลือคนอื่นเป็นทอดๆ ต่างจากคน เห็นแก่ตัว รับอย่างเดียว ไม่ช่วยเหลือผู้อื่น
- หน่วยงานของรัฐได้เข้าไปบริจาคสิ่งของอุปโภค บริโภคที่จำเป็นชาวบ้านในถิ่นธุรกันดาร แต่เนื่องจากมีชาวบ้านอยู่กันหลายครอบครัวทำให้ได้รับสิ่งของไม่ทั่วถึง ชาวบ้านบางคนถึงกับน้อยใจว่าฝนตกไม่ทั่วฟ้า
- ความลำเอียงของคนเรา หรือเห็นแก่พวกพ้องเป็นเรื่องปกติ อย่างกรณีเกิดภัยทางธรรมชาติ การให้ความช่วยเหลือประชาชน บางคนก็จะให้ความช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มหรือคนที่สนับสนุนตน เอง อย่างนักการเมือง ฝนตกไม่ทั่วฟ้า ให้ความช่วยเหลือไม่ทั่วถึง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
- ฝนตกไม่ทั่วฟ้า เขื่อนพิมาย โคราช เหลือน้ำไม่ถึง 10 % ชาวนาท้ายเขื่อนยังคงเดือดร้อน หวั่นไม่มีน้ำใช้
- ความรักใคร่เฉพาะพวกพ้องเป็นเรื่องปกติของคนเรา แม้แต่ ในครอบครัว วงศาคณาญาติกันก็ตาม การให้ความช่วยเหลือกัน ก็อาจจะ ฝนตกไม่ทั่วฟ้า ช่วยเหลือเฉพาะญาติที่ตนรักใคร่เท่านั้น และบางคนก็อาจจะได้รับบทเรียนราคาแพง เมื่อญาติที่ตนให้ ความช่วยเหลือ กลับไม่สามารถพึ่งพาอะไรได้ สุดท้ายก็ได้รับ ความช่วยเหลือจากคนที่ตัวเองไม่เคยสนใจไยดี