สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผีถึงป่าช้า
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผีถึงป่าช้า
ที่มาของสำนวนนี้ ในสมัยก่อนการเผาศพคนตายนั้นจะทำที่ป่าช้า ไม่ใช่ทำที่วัดเหมือนในปัจจุบันนี้ เมื่อมีคนตายก็จะแห่ศพหรือที่เรียกว่าผี ไปที่ป่าช้าเพื่อที่จะทำการเผา หรือฝังศพคนตาย และเมื่อคนตายถึงป่าช้าแล้วก็จะรีบทำการเผาหรือฝังในทันที หลังจากที่ทำพิธีทางศาสนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพราะว่าหากทั้งไว้เนิ่นนาน อาจจะทำให้เน่าเหม็นหรือสัตว์มากินได้ ดังนั้นสำนวน ผีถึงป่าช้า นั้นจึงหมายถึงต้องยอมทำด้วยความจำใจหรือไม่มีทางเลือก
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ภาวะจำยอม ต้องยอมทำเพราะความจำใจไม่มีทางเลือก หรือไม่เต็มใจแต่ก็ต้องทำ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผีถึงป่าช้า
- ฉันซื้อแพคเกจทัวร์ไปเที่ยวญี่ปุ่นโดยบริษัททัวร์แจ้งว่าเป็นราคารวมอาหารและที่พัก 5 ดาว แต่พอไปถึงกลับเป็นห้องพักถูกๆ ไม่มีอาหารให้ ผีถึงป่าช้าแล้วยังไงก็ต้องนอน
- ก็มีคำสั่งลงมาแล้วฉันก็คงต้องไปในเมื่อผีถึงป่าช้าแล้วยังไงก็ต้องเผา
- ระหว่างทางขับรถไปต่างจังหวัดมนัสรู้สึกว่ายางแบนจึงแวะเข้าร้านปะยาง พอถามราคาแล้วกะฟันเต็มที่ แต่ก็ไม่มีทางเลือกผีถึงป่าช้าแล้วก็เลยต้องให้เขาทำ
- ในเมื่อเจ้านายมาผมจะไม่ไปด้วยก็คงไม่ได้ ผีถึงป่าช้าแล้วไม่เผาก็กระไร
- บางครั้งชีวิตต้องจำยอม เคยรุ่งเรืองขึ้นสุด ก็พังทลายลงมาได้ ต้องสู้ชีวิตเหมือนกับผีถึงป่าช้า ถ้าไม่สู้ต่อก็ไม่มีเงินกิน