สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตกกะไดพลอยโจน
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตกกะไดพลอยโจน
ที่มาของสำนวนนี้คือ โบราณโดนเรือนไทยในสมัยก่อนมักจะมีบรรไดทุกบ้าน เปรียบเปรยถึงการกระทำที่ผิดพลาดกับการตกกระได คนที่ก้าวลงบันได(กระได)แล้วพลาดจะตก ก็เลยกระโจนตามไปดีกว่าที่จะฝืนล้มแล้วจะเจ็บหนักกว่า
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ จําเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบไม่มีทางเลี่ยง เมื่อพลาดไปแล้วก็ยอมเลยตามเลยเพื่อไม่ให้เสียเชิง และมักจะสื่อไปในทางที่มีผลกระทบไม่ดีเกิดขึ้น
นิยมใช้เปรียบเทียบเมื่อเราต้องอยู่ในภาวะจำยอมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการแบบคาดไม่ถึง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตกกะไดพลอยโจน
- ผมไม่ได้ตั้งใจจะไปทะเลาะวิวาทกับใคร แต่ตกกระไดพลอยโจนไปอยู่ในกลุ่มที่เคยมีเรื่องก่อเหตุทะเลาะวิวาทกับเพื่อนต่างสถาบัน
- นายหนุ่มซื้อของไปให้ป้าซึ่งกำลังนั่งเล่นไพ่กันอยู่ พอดีกับที่ตำรวจบุกเข้าจับ ทำให้นายหนุ่มต้องวิ่งหนีไปกับเขาด้วย ถ้าไม่วิ่งก็ต้องโดนตำรวจจับข้อหาเล่นการพนันไปด้วย
- เขาตกกระไดพลอยโจน ต้องมาทำตัวเป็นสายสืบให้ตำรวจเนื่องจากไปรู้ข้อมูลบางอย่าง ของผู้ก่อการร้าย
- นายสมัครช่วยชาวบ้านต่อต้านพวกนายทุนที่เข้ามาตัดไม้ทำลายป่าอย่างแข็งขัน จนชาวบ้านเห็นความตั้งใจและสนับสนุนให้ลงสมัครเป็นกำนัน ทั้งๆที่นายสมัครไม่ได้สมัครใจเลย แต่ก็หนีไม่ออก เพราะถ้าไม่รับก็ไม่มีใครทำหน้าที่นี้
- ในบทเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนพลายงามได้นางศรีมาลา กล่าวถึงขุนแผนที่พยายามป้องกันไม่ให้พลายงามเข้าหานางศรีมาลาแล้ว แต่ไม่สำเร็จจึงต้องยอมเลยตามเลยพูดสู่ขอนางให้กับพลายงาม ดังคำประพันธ์ว่า “ครานั้นขุนแผนแสนสนิท นิ่งคิดใคร่ครวญดูถ้วนถี่ การทั้งปวงล่วงเลยถึงเพียงนี้ จะทิ้งไปไม่ดีเป็นเนรคุณ อองามก็หลงจนงงงวย ไม่ช่วยไปข้างหน้าจะว้าวุ่น ตกกระไดพลอยโผนโจนตามบุญ ทำเป็นหุนหันโกรธเจ้าพลายงาม”