สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กระโถนท้องพระโรง
ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกระโถนท้องพระโรง
ที่มาของสำนวนคือ คำว่ากระโถน หมายถึงภาชนะที่ใช้สำหรับบ้วนน้ำหมาก บ้วนน้ำลาย หรือทิ้งสิ่งของที่ไม่ต้องการ ส่วนคำว่า ท้องพระโรง หมายถึงห้องโถงใหญ่ในพระราชวัง หรือในวังของพระบรมวงศานุวงศ์ ใช้เป็นที่สำหรับขุนนางหรือข้าราชการเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระบรมวงศานุวงศ์
เมื่อใช้รวมกันว่า กระโถนท้องพระโรง ที่มาในสมัยก่อนคือ กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ในท้องพระโรง หรือในศาลาลูกขุนใน ซึ่งเป็นที่ทำการของข้าราชการชั้นสูง กระโถนที่ตั้งไว้นี้ใช้เป็นที่สำหรับให้ใครๆ บ้วนน้ำลาย บ้วนน้ำหมาก หรือทิ้งชานหมากได้
สรุปความของสำนวนหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ บุคคลที่ถูกใครๆ รุมใช้อยู่คนเดียว หรือคนที่ใครๆ ก็ใช้งานได้ เป็นคนที่ใคร รุมใช้อยู่คนเดียว เป็นคนที่ถูกใช้เป็นที่ระบายอารมณ์ เป็นที่รองรับอารมณ์ของคนอื่นๆ เป็นคนรับเคราะห์หรือรับบาปแทนคนอื่น และเป็นบุคคลที่น่าสงสารมากที่สุด
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกระโถนท้องพระโรง
- อะไรๆ ก็มาลงที่ฉัน เห็นฉันเป็นกระโถนท้องพระโรง ไปได้
- เอเป็นคนน่าสงสารมาก เป็นคนเดียวในห้อง ที่เพื่อนร่วมห้องในโรงเรียนรุมแกล้งเขาตลอดเลย
- ฉันไม่ใช่กระโถนท้องพระโรงของเธอนะ ที่เธอจะมาอารมณ์เสียแล้วจะมาลงที่ฉันอย่างเดียว อย่างนี้ฉันไม่ชอบ อย่าทำแบบนี้อีก
- เวลาจะไปไหนทีไร มีแต่คนมาใช้เราตลอดเลย เฮ้อ! พวกเขาเห็นเราเป็นกระโถนท้องพระโรงหรือยังไงกันนะ
- พักเที่ยงที่ทำงานเพื่อนๆ ในที่ทำงานชอบใช้บีไปซื้อข้าวตลอดเลย บีจะรู้หรือเปล่านะ ว่าตัวเองเป็นกระโถนท้องพระโรง