สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ห. เหยียบเรือสองแคม
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยเหยียบเรือสองแคม
ที่มาของสำนวน เปรียบเปรยคนที่มีนิสัยโลภ โดยมีคนได้รับมอบเรือ โดยผู้ให้เรือแก่บุคคลนั้นให้เลือกเรือลำใดลำหนึ่ง แต่เขาละโมบโลภมากอยากพายเรือกลับทั้งสองลำ โดยการเหยียบเรือสองแคมแล้วพายไป โบราณจึงนำมาใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนอยู่ได้ทั้งสองฝ่ายเพราะมุ่งหมายผลประโยชน์จากสองฝ่าย
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทําทีเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย อยู่กับฝ่ายไหน ก็เห็นด้วยหรือแสดงท่าทีเข้าข้างฝ่ายนั้น โดยตักตวงประโยชน์จากทั้งสองฝ่ายอย่างไม่บริสุทธ์ใจ โบราณท่านจึงเปรียบบุคคลนั้นเหมือนเหยียบเรือทั้งสองฟากหรือสองแคม
มักใช้แสดงความหมายในทางไม่ดี หรือแสดงนิสัยที่ไม่ดีของคนที่เหมือนเป็นนกสองหัว
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตเหยียบเรือสองแคม
- กลุ่มหนึ่งมองเห็นความเป็นจริงเหล่านี้กระจ่างชัด สวรรค์ไม่ได้อยู่บนฟ้า นรกไม่ได้อยู่ใต้ดิน จึงมีสำนวนสวรรค์ในอกนรกในใจ ใครอยากอยู่บนสวรรค์ หรือคิดหาทางเลี่ยงให้พ้นนรก ไม่บ่อยนักได้ ก็คุ้มแล้ว ไม่เหยียบเรือสองแคม
- สมชายเขาเป็นพวกเหยียบเรือสองแคม คอยดูแต่ว่าข้างไหนเป็นฝ่ายชนะก็เข้าข้างนั้น
- สรุปคุณจะเลือกทำงานกับบริษัทไหนกันแน่ อย่ามัวแต่เหยียบเรือสองแคม ทำงานทั้งสองที่ ผมต้องการคนที่ตั้งใจ ทุ่มเทให้กับบริษัทนี้เท่านั้น
- เราไม่ควรไว้ใจคนที่เหยียบเรือสองแคม เพราะบุคคลประเภทนี้ไม่มีความจริงใจ มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์
- ความจริงที่ทำใจยอมรับได้ยากก็คือ การเหยียบเรือสองแคม ต้องลงคนเดียว พายไปคนเดียว ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน จึงจะไปถึงที่หมาย ทว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าที่หมายนั้นมีอยู่จริง หรือเป็นที่สุดแห่งทุกข์จริง