สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ต. ตักน้ำรดหัวตอ
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตักน้ำรถหัวตอ
ที่มาของสำนวนนี้คือ ตอไม้ที่ตายแล้วเมื่อเราเอาน้ำไปรด มันก็ย่อมไม่เติบโตแล้ว จึงใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบถึงการแนะนำสั่งสอนอย่างไรก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมา ไม่มีประโยชน์อะไรเลยในการสั่งสอน
สรุปความหมายของสำนวนนี้คือ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ แนะนำเท่าไร พร่ำสอนเท่าไร ก็ไม่ได้ผล นิยมใช้กับคนที่รับรู้อะไรยาก สอนยากสอนเย็น สอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักจำ อาจจะเพราะหัวไม่ดีหรือเพราะความดื้อรั้นไม่ยอมรับรู้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตตักน้ำรดหัวตอ
- ยายชดช้อยพยายามที่จะอบรมสั่งสอนหลานชายไม่ให้เที่ยวกลางคืน แต่หลานชายยังคงไปเที่ยวกลางคืนอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้เพื่อนบ้านพูดกับยายว่าพร่ำสั่งพร่ำสอนไปเถิดหลานยายไม่เคยฟังเลยเหมือนตักน้ำรดหัวตอ
- คนพวกนี้มั่นใจในตัวเองสูง รั้น ไม่ฟังใคร พูดไปก็เหมือนตักน้ำรดหัวตอ ไม่พูดดีกว่า
- หลวงตาพร่ำสอนเด็กวัดทุกวันว่าให้เขารู้จักขยันเล่าเรียน อย่าเกเร เมื่อโตขึ้นจะได้สบาย เด็กทุกคนทำตามคำสอนของหลวงตา ยกเว้นเจ้าจุกที่ไม่ทำตามคำสั่งสอน ทำให้เจ้าจุกเรียนหนังสือไม่จบ ไม่มีงานทำดีๆ เหมือนเด้กวัดคนอื่นๆ
- คุณอย่าไปตักน้ำรดหัวตอเลย เพราะพูดไปเขาก็ไม่ฟัง เสียเวลาเปล่า ต้องปล่อยให้เขาเห็นผลเสียที่จะตามมาซะบ้าง
- จะสอนคนต้องสอนคนที่มีหัวก้าวหน้า ไม่ใช่สอนคนที่ติดกับความคิดเดิมๆ แถมหยิ่งผยองจองหองอีก เหมือนกับตักน้ำรดหัวตอชัดๆ แบบนี้