สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กระต่ายแหย่เสือ
ความหมายสุภาษิตคำพังเพยกระต่ายแหย่เสือ
ที่มาของสำนวน มาจากนิทานเรื่องกระต่ายแหย่เสือ โดยเรื่องมีอยู่ว่า มีเสือตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้ กระต่ายตัวหนึ่งเดินผ่านมา เห็นเสือกำลังนอนหลับ อยู่นึกโกรธว่าเสือชอบจับกระต่ายกินนักจึงถอนต้นหญ้าเอามาแหย่จมูกเสือ เสือตกใจตื่นขึ้นเห็น กระต่าย จึงบอกว่า “ อย่าเล่นน่า” และเสือก็หลับต่อไป กระต่ายก็ถอนต้นหญ้าแหย่จมูกเสือ อีก เสือโกรธมากจึงบอกว่า“เหม่! เดี๋ยวข้าจับกินเสียหรอก กระต่ายเห็นเสือโกรธเช่นนั้นก็วิ่งหนี เสือก็ไล่ตามกระต่าย กระต่ายวิ่งไปเจอขี้ควายเข้ากองหนึ่ง คิดอุบายที่จะแกล้ง เสือ จึงหาดอกไม้มาปักรอบๆ กองขี้ควาย แล้วนั่งลงเอากิ่ง ไม้โบกไล่แมลงวัน ปากก็บ่นพึมพำว่า “ข้าวเหนียวเปียกพระอินทร์ ใครมากินพระอินทร์จะ แช่ง” เสือวิ่งตามพบ กระต่ายแกล้ง เป็นไม่เห็น มือปัดแมลงวัน ปากพึมพำว่า “ข้าวเหนียว เปียกพระอินทร์ ใครมากินพระอินทร์จะแช่ง” เสือเห็นกระต่าย ดังนั้นก็สงสัยจึงถามว่า “ทำ อะไรน่ะ” “ ก็คอยปัดแมลงวันไม่ให้มาตอมข้าวเหนียวเปียกของพระอินทร์นี่ไงล่ะ ” กระต่ายตอบ และชี้ให้ดูกองขี้ควายซึ่งมีดอกไม้คลุมอยู่เต็ม เสือมองดูดอกไม้ แล้วพูดว่า “น่ากินดีนี่ ขอ ลองกินสักคำเถอะ” กระต่ายตอบว่า “ไม่ได้ถ้ากินพระอินทร์ก็จะแช่งนะ ” เสือลังเล แต่ความอยากกินมีมากกว่า “ก็อย่าให้พระอินทร์รู้สิ ขอสักคำเดียวเท่านั้น” “ไม่ได้” กระต่าย ตอบเสียงแข็ง และแกล้งพึมพำว่า “ข้าวเหนียวเปียกพระอินทร์ ใครมากินพระอินทร์จะแช่ง” เสืออยากกินมากขึ้น “เถอะน่า ขอกินคำเดียวเท่านั้น เราเป็นเพื่อนกันนะ”
กระต่ายแกล้งทำ เป็นอิดเอื้อน ในที่สุดก็เอ่ยว่า “ตามใจ กินก็กิน แต่ต้องให้ข้าวิ่งไปไกลๆ ก่อนนะ เดี๋ยวพระ อินทร์มาพบเข้าข้าก็จะแย่” กระต่ายพูด เสือพยักหน้าตกลง กระต่ายจึงวิ่งหนีไปสุดแรงของมัน เมื่อไปไกลพอที่เห็นว่าเสือจะตามมาไม่ทันง่ายๆ จึงตะโกนบอกว่า “กินเถอะขืนนั่งอยู่ที่นี่ พระอินทร์มาพบเข้า ว่าข้าปล่อยให้แกกินข้าวเหนียวเปียกของท่าน ข้าก็แย่ ” “ตกลง” เสือว่า เสือขย้ำกองดอกไม้เข้าเต็มที่ ขี้ควายเลอะเต็มหน้า ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว เสือรู้สึกโกรธมาก “ไอ้กระต่ายหลอกลวง ข้าจะต้องจับมันกินเสียให้ได้” เสือนึก
จากนั้นจึงวิ่งไล่ตามกระต่ายไป โดยเร็ว ข้างฝ่ายกระต่ายวิ่งมาได้พักหนึ่งก็เห็นรังผึ้ง ก็เกิดความคิดที่จะแกล้งเสืออีก จึงหาไม้ ท่อนหนึ่งมาถือ พร้อมกับนั่งลงบ่นพึมพำ ว่า “เสียงฆ้องของพระอินทร์ ใครได้ยินจะเป็นสุขนัก” เสือไล่ตามมาทัน เห็นกระต่ายนั่งถือท่อนไม้ หลับตา และนั่งบ่นพึมพำ อยู่ก็สงสัยนัก จึงถามว่า “ทำอะไรน่ะ ” “ เฝ้าฆ้องพระอินทร์น่ะสิ ” กระต่ายตอบ “ฆ้องพระอินทร์ดียังไง” เสือสงสัย “อ๋อ ก็มีเสียเพราะที่สุดละ ใครได้ยินเข้า จะเป็นสุขมากทีเดียว” กระต่ายตอบ เสือได้ยินดังนั้น ก็เกิดอยากฟังเสียงฆ้องขึ้นมาทันที “ช่วยตีให้ฟังสักทีเถอะน่า” “ ไม่ได้ ๆ พระอินทร์ท่านสั่งไว้ ไม่ให้ใครตีฆ้องนี้เป็นอันขาด ข้าจึงต้องมาคอยเฝ้าอยู่ไงล่ะ ” “เถอะน่า ข้าตีเองก็ได้” กระต่ายแกล้งทำเป็นอิดเอื้อน ในที่สุดก็บอกว่า “ตามใจ แต่ต้องให้ข้าวิ่งไปให้ไกลเสียก่อนนะ ขืนนั่งอยู่ที่นี่ พระอินทร์มาพบเข้า ว่าข้าปล่อยให้แกตีฆ้องของท่าน ข้าก็แย่” “ตกลง วิ่งไป เร็วๆ เข้าสิ” “ต้องให้ข้าบอกว่า ตีเถอะ ก่อนนะ จึงค่อยตี” เสือพยักหน้า
กระต่ายรีบวิ่ง ออกไปโดยเร็วที่สุด เมื่อไปได้ไกลพอเห็นว่าเสือจะตามไม่ทันแล้ว กระต่ายก็ตะโกนบอกว่า “ตีเถอะ” เสือยกท่อนไม้ขึ้นฟาดตูมลงไปที่รังผึ้ง รังผึ้งแตกกระจาย ฝูงผึ้งกรูเข้าเล่นงานเสือ ต่อยหน้าตาเสือบวมหมด เสือรู้สึกโกรธยิ่งนัก “ไอ้กระต่ายหลอกลวง ข้าจะต้องจับมันกินเสีย ให้ได้” เสือนึก จากนั้นจึงวิ่งไล่ตามกระต่ายไปโดยเร็ว กระต่ายวิ่งไป วิ่งไป นึกในใจว่า ทีนี้เสือ คงจะเจ็บไม่น้อย สมน้ำหน้าอยากจับพวกกระต่ายกินเก่งนัก แต่เสือก็คงโกรธมากเหมือนกัน กระต่ายคิด เราจะต้องรีบหนีไปให้พ้น พอดีกระต่ายวิ่งมาถึงริมแม่น้ำ จะข้ามไปก็ไม่ได้ ขืนคอย อยู่ ประเดี๋ยวเสือก็จะตามมาทัน
กระต่ายคิดอยู่ครู่หนึ่งก็นึกอุบายขึ้นมาได้ จึงร้องตะโกนลงไป ที่แม่น้ำ ว่า “จระเข้ทั้งหลาย เร็วๆ เข้า พระอินทร์รับสั่งให้หา” จระเข้ได้ยินเข้าก็ตกใจกลัว พากันรีบลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ กระต่ายบอกว่า “ พระอินทร์ท่านสั่งให้เราไปธุระทางฝั่งโน้น ให้ พวกท่านเรียงแถวเข้าเป็นสะพานให้เราเดินข้ามไปเดี๋ยวนี้ ” จระเข้แก่ตัวหนึ่งรู้ว่าเป็นอุบายของ กระต่าย พอกระต่ายมาถึงตนก็แกล้งดำน้ำลงไปเสีย กระต่ายตกลงไปในน้ำ รู้สึกกลัวเป็นอัน มาก “จระเข้รู้ทันเราเสียแล้ว” มันคิด “เราไม่ควรหลอกเขาเลย” ตอนที่จระเข้แก่ดำน้ำลง ไปนั้น เป็นตอนใกล้ฝั่ง กระต่ายจึงตะเกียกตะกายขึ้นฝั่งได้ แต่ก็สำลักน้ำอยู่หลายครั้ง พอขึ้นฝั่ง ได้ กระต่ายรีบวิ่งหนีไปไม่เหลียวหลัง เมื่อเสือมาถึงฝั่งแม่น้ำ กระต่ายก็วิ่งไปไกลเสียแล้ว
สรุปความของสำนวนหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การที่ผู้น้อยที่ล้อเล่นกับผู้ที่มีกำลัง ผู้ที่มีอำนาจมากกว่า หรือการไปท้าทายกับผู้ที่มีอำนาจ บารมีมากกว่า ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกระต่ายแหย่เสือ
- สมชายโดนกระทืบเนื่องมาจาก การไปล้อเล่นกับมาเฟียท้องถิ่น เหมือนกระต่ายแหย่เสือ ดีนะแค่โดนกระทืบ ไม่โดนมากกว่านี้ สงสัยแค่จะสั่งสอนให้เข็ดหลาบ
- เธอกำลังทำตัวท้าทายเป็นกระต่ายแหย่เสืออยู่นะ เขาเป็นผู้มีอิทธิพลในจังหวัดนี้ อย่าหาเรื่องใส่ตัวดีกว่า
- คนบางคนเล่นไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ทำตัวเป็นกระต่ายแหย่เสือ สักวันคงจะเจอดีเข้าสักวัน เช่น นักการเมืองหน้าใหม่ ที่คิดว่าตัวเอง เก่ง เจ๋ง แน่
- ก็เพราะเขาทำตัวเป็นกระต่ายแหย่เสือ ไปจีบลูกสาวนักการเมืองชื่อดัง สุดท้ายก็เลยโดนสั่งสอนแบบนี้นี่แหละ
- เด็กสมัยนี้บางคนทำตัวเกเร ไม่มีความเกรงใจ หรือความเคารพผู้ใหญ่เลย ทำตัวเป็นกระต่ายแหย่เสือ พอเห็นผู้ใหญ่ไม่ทำอะไร ก็ได้ใจ ระวังสักวันจะเสียใจ ถ้าไปล้อเล่นผิดคน