สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
ที่มาของสำนวนนี้คือ เปรียบเปรยถึง มีก้างปลาติดอยู่ในคอซึ่งกลืนก็ไม่เข้าท้อง คายก็ไม่สามารถทำได้ง่ายนั่นเอง
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การตกอยู่ในภาวะลำบากใจ ตัดสินใจไม่ถูกไม่รู้จะทำอย่างไรดี หมดหนทางไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกทางไหนก็ส่งผลกระทบทั้งนั้น เป็นการยากที่จะตัดสินใจ
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
- กลืนไม่เข้า คายไม่ออก… จากที่เพิ่งเจอมรสุมการเงินถล่มมาไม่นาน ถึงช่วงซัมเมอร์นี้ทีมฟุตบอล “บาร์ซา” กลับมาช้อปแหลกอีกแล้ว แต่เรื่องของ เฟรงกี เดอ ยอง อาจทำให้พวกเขาต้องเจอปัญหาอีกครั้ง…
- กลืนไม่เข้า คายไม่ออก การป้องกันแพร่ระบาดของโรคร้าย… แต่ด้านเศรษฐกิจ การทำมาหากินของชาวบ้าน โดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยเองและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่แห่เข้าประเทศไทยวาดหวังจะได้สัมผัสความสนุกสนานในเทศกาลสำคัญ มันหมายถึงได้แก้ปัญหาปากท้องที่กำลังฝืดเคืองอย่างหนัก!
- 7 วันอันตรายคนไทยเสียชีวิตเพราะเมาแล้วขับ แต่ที่แดนอาทิตย์อุทัย เขาเสียชีวิตเพราะกลืนไม่เข้า คายไม่ออก คนญี่ปุ่นมาจากขนมประจำชาติอย่างขนมโมจิ ที่ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก และต้องกินกับน้ำซุปเพื่อความเป็นสิริมงคลช่วงฉลองปีใหม่ ซึ่งความเหนียวของขนมยอดฮิตนี้ทำให้คนญี่ปุ่นขาดอากาศหายใจมานักต่อนัก
- ตอนนี้ผมก็อยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะผมเป็นคนออกกฏนี้มาแต่ญาติพี่น้องเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง ผมก็ไม่รู้จะตัดสินอย่างไร ครั้นจะไม่ไล่ออกก็เสียการปกครองหมู่มาก แต่พอจะไล่ออกเขาก็เคยมีพระคุณกับผม ลำบากใจจริงๆ
- เมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เราต้องตั้งสติ ใจเย็นๆ หายใจเข้าลึกๆ แล้วมาดูปัญหาว่าควรแก้ยังไงอย่างมีสติ เพราะทุกปัญหามีทางออกเสมอ