สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ผ. ผ่อนสั้นผ่อนยาว
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผ่อนสั้นผ่อนยาว
ที่มาของสำนวน มาจากการทำให้วัตถุหย่อนลง หรือคลายความตึง เป็นการปลดความตึง ความเครียดของอารมณ์ หรือวัตถุใดๆ จากเคร่งให้รู้สึกผ่อนคลายลง ทำให้โล่งขึ้น
สำนวนที่คล้ายกัน ผ่อนหนักเป็นเบา
สรุปความหมายของสำนวน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ การประนีประนอมกัน อะลุ้มอล่วยกัน และเห็นอกเห็นใจกัน
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตผ่อนสั้นผ่อนยาว
- รัฐควรรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวเพราะรู้กันอยู่ว่าเครือข่ายคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกลุ่มนี้ไม่ใช่กลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีเป้าหมายแอบแฝงและเพียงต้องการยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งหากผู้นำรัฐบาลยอมสละเวลาสักเล็กน้อยรับข้อเรียกร้องของเครือข่ายคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็น่าจะเกิดผลดีกับทุกฝ่าย
- วัวของตาแดงหลุดไปกินข้าวโพดของยายเขียว ตาแดงพยายามไล่วัว แต่วัวมีหลายตัวจึงทำให้ไร่ข้าวโพดของยายเขียวเสียหายมากขึ้น ยายเขียวเรียกค่าเสียหายจำนวนมาก แต่มีจึงขอร้อง ตาไม่ได้ตั้งใจ เราเป็นเพื่อนกันมานาน ให้ผ่อนสั้นผ่อนยาวกัน จึงเคลียกันลงตัวในที่สุด
- กรณีฝ่ายสัมพันธมิตร ทำชนะสงคราม แล้วก็ผ่อนสั้นผ่อนยาวให้ฝ่ายอักษะ ยุติการสงคราม และ พาส่งกลับบ้านอย่างปลอดภัยทุกคน
- หากทั้งสองฝ่ายรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว เรื่องราวความขัดแย่งอย่างรุนแรงแบบนี้ก็คงไม่เกิด
- รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว คนที่เล่นว่าว ถ้าเล่นว่าวเป็น ว่าวก็จะไม่ตกและกินลมได้ดี คือเมื่อลมแรงเกินไป ก็ปล่อยสายป่านให้ยาวออกไป เพราะถ้าดึงไว้สายป่านก็จะขาดทำให้ว่าวตก หรือเมื่อลมอ่อนเกินไปก็พยายามดึงสายป่านเอาไว้ ว่าวก็จะกินลมได้ดีและไม่ตก การดำเนินชีวิตก็เหมือนกัน ถ้าจะให้ราบรื่นก็ต้องรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวในปัญหาขัดแย้งต่าง ๆ