สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ ก. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
ที่มาของสำนวนคือ โดยปกติตามธรรมชาติแล้วสัตว์ทั้งสองไม่มีอวัยวะอย่างนมและตีนและไม่มีใครเคยได้เห็น “ตีนงู” หรือ “นมไก่” เพราะงูไม่มีตีน และไก่ก็ไม่มีนม ซึ่งเราใช้สำนวนนี้ในเชิงเปรียบเทียบนั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าวจึงถูกนำมาใช้เป็นสำนวนเกี่ยวกับความลับ
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ หมายถึงการที่คนสองคน ต่างก็รู้ความลับหรือนิสัยใจคอของกันและกันเป็นอย่างดี แต่คนอื่นนั้นไม่รู้เรื่องของทั้งสอง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
- ศักดิ์กับแซมอยู่ในซอยเดียวกัน ทั้งสองคนทำตัวเป็นผู้ดีแต่งตัวหรูหรา ซึ่งทั้งคู่ต่างก็รู้ว่าอีกฝ่ายนั้นไม่ได้เป็นผู้ดีจริง แต่ชาวบ้านในซอยต่างมองว่าคนสองคนนี้เป็นผู้ดีมีฐานะ
- นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการส่วนภูมิภาค ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ต่างคนต่างรู้จักกันดี
- ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ สองนักการเมือง ซัดกันเละ ขุดนโยบายที่เคยว่าจะทำ ทะลวงไส้สุดมันส์
- เราสองต่างเหมือนไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่แท้ๆ เลยเพื่อน กูรู้เก็บความลับมึง มึงเก็บความลับกู สุดยอดไปเลยเรา ฮ่าๆ
- นายบอสรู้ว่านายบิ๊กมีกิ๊ก แต่บอสก็ไม่กล้าไปบอกแฟนบิ๊ก เพราะบอสรู้ดีว่าบิ๊กมีความลับของตน ซึ่งไม่ดีแน่ๆ หากบอสทำแบบนั้น นี่แหละน้าอย่างที่เขาว่าไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่