สำนวนสุภาษิตไทยหมวดหมู่ จ. จับงูข้างหาง
ความหมายสำนวนสุภาษิตคำพังเพยจับงูข้างหาง
ที่มาของสำนวนนี้คือ งูเป็นสัตว์มีพิษ ถ้าจับหางมันอาจแว้งกัดและรัดผู้จับให้ตายได้ สำนวนนี้มักใช้เป็นคำห้ามว่าอย่าจับงูข้างหาง “จะให้มันรับว่าจริงยิ่งยากนัก จะซ้ำซักข้างเดียวก็ไม่ได้ มาจับงูข้างหางผิดอย่างไป มันจึงว่าได้ทุกสิ่งอัน”
สรุปความหมายของสำนวนนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ทำสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย โบราณท่านเปรียบไว้นักหนาว่าอย่าทำเป็นอันขาด เพราะว่าเป็นการกระทำที่ที่เสี่ยงอันตรายมาก เป็นภัยร้ายสามารถวกกลับมาหาตนเองได้ อาจจะเพราะความมักง่าย หรือใจร้อน ทำอะไรเร็ว ขาดความระมัดระวัง
ตัวอย่างการใช้สุภาษิตจับงูข้างหาง
- นายเขียวไม่ชอบแมว เมื่อเห็นแมวจรจัดแอบเข้ามาในบ้าน ก็ไล่จับ แมวมุดไปใต้โต๊ะ ก็พยายามเอาแมวออกมาโดยลากหาง แมว ถูกลากหาก ก็เจ็บแล้วันมาข่วนและกัดได้แผลทำให้ต้องไปฉีดยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพราะการทำอะไรแบบไม่ระวัง จับงูข้างหาง จึงทำให้เจ็บตัวและเสียเงินเสียเวลา
- นายน้อยพบว่ามีสุนัขจรจัดเข้ามาในบ้าน จึงออกไปไล่ด้วยมือเปล่า เมื่อสุนัขไม่ยอมออกไป จึงใช้มือลากสุนัขนั้นออกจากบ้าน เมื่อสุนัขโดนลากก็เจ็บจึงกัดเอาที่แขนของนายน้อย เป็นต้น
- การเล่นกับหมาแปลกหน้า ต้องระวัง อย่าไปถูกเนื้อต้องตัว เพราะอาจจะถูกกัดได้ บางคนประมาท เพราะเลี้ยงหมา จึงคิดว่าตัวเอง เข้าใจหมาเป็นอย่างดี จึงถูกกัดบ่อยๆ ทำอะไรแบบ จับงูข้างหาง ก็เลยเจ็บตัว
- การทุ่มหน้าตักใช้เงินลงทุนในตลาดคริปโตโดยไม่มีความรู้ ก็เหมือนการจับงูข้างหาง เพราะคุณมีโอกาสที่จะสูญเสียเงินทั้งหมดได้ในพริบตา
- การจับงูข้างหางเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะโดยธรรมชาติของงู เมื่อถูกจับข้างหางจะแว้งมากัดได้ง่ายๆ จึงเป็นการเตือนให้ระวัง อย่าไปจับงูข้างหาง ต้องจับคอ กับงูบางชนิดอย่างงูหลาม งูเหลือม จับตรงไหนก็อันตราย ไม่โดนกัดแต่มีโอกาสถูกรัดได้เช่นกัน